ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นิทรรศการ "รอยสยามบนแผ่นฟิล์มพระปกเกล้าฯ"

โดย ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร

          ในประเทศสยาม ภาพยนตร์ประเภทข่าวและเหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์รวมถึงภาพยนตร์สารคดี เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการคิดสร้างสรรค์ผูกเรื่องราวให้เป็นภาพยนตร์บันเทิงเช่นเดียวกับประเทศอื่นในโลก สมัยรัชกาลที่ ๗ ภาพยนตร์ข่าวและสารคดีจำนวนหนึ่ง เป็นภาพยนตร์ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากทรงโปรดการทอดพระเนตรและการถ่ายทำภาพยนตร์มาก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็มักจะทรงกล้องถ่ายภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ส่วนหนึ่งไว้เสมอ ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้ตั้งสมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ในพ.ศ. ๒๔๗๓ พระราชจริยาวัตรด้านนี้ไม่เพียงจะเป็นบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าเท่านั้น หากยังแสดงถึงพระปรีชาสามารถในการถ่ายทำภาพยนตร์ที่บ่งชี้ถึงความสนพระทัยในความเป็นอยู่ของราษฎร รวมถึงศิลปวิทยาการ สังคมและวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง

          นิทรรศการ“รอยสยามบนแผ่นฟิล์มพระปกเกล้าฯ” จัดแสดงระหว่างวันที่ ๒๕ สิงหาคม ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ มุ่งหวังให้คนไทยย้อนรำลึกถึงภาพอดีตของสยาม จึงได้เลือกสรรภาพยนตร์ที่ได้รับการอนุรักษ์ใหม่ล่าสุดมาจากหอภาพยนตร์แห่งชาติ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีฉลองอภิเษกสมรสครบ ๑๒ พรรษาในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และพระราชพิธีโสกันต์ในพระองค์เจ้าจีรศักดิ์สุประภาต มาฉายประกอบการเสวนาในพิธีเปิดนิทรรศการวันพุธที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อให้ผู้เข้าชมนิทรรศการเห็นร่องรอยความสืบเนื่องและความเปลี่ยนแปลงทางคตินิยม ความเชื่อของพระราชพิธีที่เคยมีมาในอดีต

          การฉายภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์การเสด็จฯภายในประเทศ ๓ เรื่อง ประกอบการเสวนา มีกำหนดการ ดังนี้ วันเสาร์ที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ฉายภาพยนตร์เรื่องแรก ชื่อ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรัชกาล เรื่องที่สอง ชื่อ การเสด็จประพาสถ้ำพระยานคร ภายในเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ เรื่องที่สาม ชื่อ การเสด็จประพาสมณฑลปัตตานีในปีพ.ศ. ๒๔๗๒ ส่วนภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์เสด็จประพาสต่างประเทศเลือกสรรภาพยนตร์ในคราวเสด็จประพาสเกาะชวาและบาหลี พ.ศ.๒๔๗๒ นับเป็นการเสด็จประพาสต่างประเทศเพื่อเจริญพระราชไมตรีอย่างเป็นทางการครั้งแรกกับอังกฤษและฮอลันดาผู้ปกครองอาณานิคมแห่งสิงคโปร์ ชวา และบาหลี อีกทั้งอดีตเจ้าผู้ครองนครชาวพื้นเมือง ซึ่งนับเป็นมรดกภาพยนตร์ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...