ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปกประชา ณ ขอบขัณฑสีมา : พระราชกรณียกิจการเสด็จประพาสหัวเมือง

                                การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในประเทศตามภาคต่างๆรวม ๔  ครั้ง
  ๑. เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ ระหว่างวันที่ ๖ มกราคม -๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ (๒๔๗๐ นับตามปฎิทินปัจจุบัน)
  ๒. เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ระหว่างวันที่ ๑๖ เมษายน- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐
  ๓. เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันตก ระหว่างวันที่ ๑๔ -๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ 
  ๔. เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลภูเก็ต ระหว่าง วันที่ ๒๔ มกราคม -๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๒


                            การเสด็จเยี่ยมราษฎรเป็นการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์สยามในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพประชาชนต่างพากันมาเฝ้ารอชมพระบารมีด้วยความปิติยินดีและตื่นเต้น
                                 

เสด็จฯเยี่ยมราษฎรเหนือสุดถึงเมืองเชียงราย
              พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเสด็จเยี่ยมราษฎร ครั้งสำคัญ ได้แก่ การเสด็จฯอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรัชกาล คือ การเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ (พิษณุโลก)และมณฑลพายัพ (แพร่ ลำปาง ลำพูน เชียงราย พะเยา และเชียงใหม่) ระหว่างวันที่ ๖ มกราคม ถึง ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยรถไฟพระที่นั่ง และรถยนต์พระที่นั่ง รวม ๓๒ วัน


เสด็จฯทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ปัตตานี
        การเสด็จเลียบมณฑลภูเก็ต (ตรัง ระนอง ภูเก็ต และพังงา) ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มกราคม ถึง ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยรถยนต์พระที่นั่งและเรือพระที่นั่งเป็นเวลา ๑๘ วัน
         รวมทั้งการเสด็จฯ ทอดพระเนตรสุริยุปราคา ณ มณฑลปัตตานี พ.ศ. ๒๔๗๒ นับเป็นการเสด็จเยี่ยมพสกนิกร ณ ขอบขัณฑสีมาทั้งภาคเหนือสุดถึงเชียงราย และใต้สุดถึงปัตตานี สุริยุปราคาครั้งนั้น มีลักษณะเต็มดวงนับเป็นครั้งที่สามที่เห็นได้ในสยาม  จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๗ ภาคปลายระบุว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯถึงมณฑลปัตตานีตั้งแต่วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ แล้วเสด็จไปยังสถานที่สำรวจสุริยุปราคา ๓ แห่ง  แห่งแรกได้แก่ สถานที่สำรวจของคณะดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เวลา ๑๔.๓๐ น. หลังจากนั้นได้เสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่งยังสถานที่สำรวจอีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นของคณะดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ณ เนินเขาควนบู ซึ่งห่างจากหลังที่ว่าการโคกโพธิ์ในปัจจุบันไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๒๐๐ เมตร  และอยู่ห่างจากสถานีรถไฟโคกโพธิ์ประมาณ ๔๐๐ เมตร สถานที่แห่งสุดท้ายในวันแรกนี้คือ สถานที่สำรวจของกรมแผนที่และกรมชลประธาน ซึ่งตั้งอยู่บนเนินโคกโพธิ์  ส่วนในวันเกิดปรากฏการณ์จริง ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๒ นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตร ณ สถานที่สำรวจของนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งตั้งอยู่หน้าสนามของโรงเรียนประจำมณฑลปัตตานีในตัวเมือง เพราะเป็นคณะแรกที่เชิญเสด็จฯอย่างเป็นทางการ  นับเป็นการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 3 ในสยาม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั