ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2011

สอนอย่างไรให้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

โดย รศ.ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล           วันที่ 30 พฤษภาคมของทุกปี ทางราชการกำหนดให้เป็นวันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่ดังกล่าว เมื่อ พ.ศ. 2484  ณ  ประเทศอังกฤษ การถวายพระเพลิงใน 4 วัน  ต่อมาที่ ฌาปนสถานโกลเดอร์กรีน ชานกรุงลอนดอน เป็นไปอย่างเรียบง่ายไม่มีพิธีสวดอภิธรรม ไม่มีเสียงประโคมย่ำยาม และแน่นอนที่สุดไม่มีการสร้างพระเมรุมาศอันวิจิตรสมพระเกียรติยศ  ความเรียบง่ายอันจำเป็นในภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง กลับกลายเป็นการถวายพระเพลิงที่สอดคล้องกับพระราชอุปนิสัย มีแต่การอ่านคำถวายราชสดุดี และการบรรเลงเพลงคลาสิคที่โปรดปรานมากขณะที่พระบรมศพเคลื่อนเข้าสู่เตาไฟฟ้า           ณ ที่นั้น  นอกจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีคู่พระบารมีแล้ว มีแต่ข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดซึ่งหลายพระองค์เป็นเด็กในพระราชอุปการะมาตั้งแต่ยังเยาว์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเด็กๆมาก ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการอบรมสั่งสอนอย่างทรงเป็นกันเองโดยตลอด อีกทั้งทรง...

พระปกเกล้าฯกับเด็กๆ

พระราชนิยมด้านการถ่ายภาพยนตร์  รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ กับเด็กๆที่ทรงเลี้ยง  โดย รศ.ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล              ด้วยพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดกิจกรรม "วันเด็กแห่งชาติ" ขึ้นทุกปีในวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม  จึงขอนำคำบอกเล่าของเด็กๆ ในพระราชอุปการะของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาประกอบเป็นเรื่องให้เด็กๆที่ไปร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงพระเมตตามหากรุณาธิคุณแก่เด็กๆ        พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงชุบเลี้ยงเด็กมาตั้งแต่มิได้ทรงอภิเษกสมรสและเมื่อทรงอภิเษกสมรสแล้วก็ทรงชุบเลี้ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยมา  จึงมีเด็กหลายรุ่นด้วยกัน เป็นครอบครัวใหญ่แสดงว่าทรงรักเด็กและโปรดเด็กมาก           ทรงเลี้ยงเด็กอย่างไร?         "ทรงเลี้ยงอย่างใกล้ชิดอยู่กับท่านตลอด  ยกเว้นตอนไปเรียนหนังสือและรับประทานอาหารแต่เวลาน้ำชา (บ่ายๆเย็นๆ) ก็ร่วมด้วยเสมอ มีจานช่องแจกแต่ละค...

คน ความคิด และวัฒนธรรมในภาพล้อและการ์ตูนการเมือง

หน้าปกของหนังสือพิมพ์ "ภาพกาตูน"  เล่าความเป็นอยู่ของสมาชิกในสามสภา (หมายเลขเอกสาร สบ.9.2.1/4) ขอขอบคุณภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร โดย ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร           สิ่งที่ยิ่งใหญ่ในตัวมนุษย์ คือ ความคิด ซึ่งเป็นสิ่งที่แยกความเป็นคนและสัตว์ออกจากกัน เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเราก็จะเห็นว่า บ้านเมืองปัจจุบันอันประกอบด้วยความเจริญต่างๆและตึกสูงมากมาย มีระบบการคมนาคมขนส่งที่ก้าวหน้าทั้งรถไฟฟ้าลอยฟ้าและใต้ดิน มีระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา ปรัชญา ศิลปวัฒนธรรม และฯลฯ ล้วนก่อตัวขึ้นหรือถูกสร้างขึ้นจากอำนาจจากรากฐานของพลังความคิดทั้งสิ้น เราอาจอาจแบ่งความคิดออกเป็น ๖ ลักษณะ ได้แก่           ลักษณะแรก คือ คิดฝัน (Day dream) หมายถึง ปล่อยความคิดให้ล่องลอยไปตามอารมณ์ แม้จะมีความสุขไม่น้อยกับความคิดนั้นแต่ยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เพราะยังไม่ได้ลงมือกระทำให้เป็นจริงจึงเป็นเพียงการวาดวิมานในอากาศเท่านั้น           ...

พระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ

โดย รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ  ชุมพล           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  กับระบอบรัฐธรรมนูญ  พระองค์จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญพระองค์แรกของไทย   ไม่นานหลังเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ  สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิ์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2468  พระองค์ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า   "...กระแสความเห็นในประเทศนี้ส่งสัญญาณชัดแจ้งว่ากาลเวลาของระบอบอัตตาธิปไตยใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว  หากจะให้พระราชวงศ์นี้สถิตอยู่ต่อไป  จะต้องปรับให้สถานะของพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงขึ้น  จะต้องหาหลักประกันอย่าให้มีพระมหากษัตริย์พร่องในความสุขุมรอบคอบ ในการทรงใช้พระวิจารณญาณ" (จากพระราชบันทึก Problem of Siam พระราชทานพระยากัลยาณไมตรี (Francis B. Sayre) 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2469)   ดังนั้นภายในเวลา 2 วัน จากที่เสด็จขึ้นครองราชย์จึงได้ทรงแต่งตั้งคณะอภิรัฐมนตรีขึ้น  เพื่อถวายคำปรึ...