ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสำรวจเพื่อปรับปรุงเนื้อหานิทรรศการถาวรเรื่องพัฒนาการประชาธิปไตยสมัยรัชกาลที่ 7

 โดย ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร
ขอบคุณภาพพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 จากชมรมคนรักมวลเมฆและคุณวิศิษฐ์(เม้ง)

 คลิปวีดีโอสำรวจนิทรรศการเพื่อการปรับปรุงเนื้อหาและการนำเสนอ
ความเป็นมาของการปรับปรุงเนื้อหานิทรรศการถาวร เรื่อง "พัฒนาการประชาธิปไตยสมัยรัชกาลที่ 7"
1) นิทรรศการถาวรเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เปิดให้ชมอย่างเป็นทางการมาเป็นเวลากว่า 8 ปีแล้ว ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2545 ควรได้รับการปรับปรุงให้น่าสนใจ ทันสมัย และสอดคล้องกับเรื่องของพัฒนาการประชาธิปไตยสมัยรัชกาลที่ 7
2) การประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับ "พระปกเกล้าศึกษา"
    การประชุมระดมความคิดเห็นพระปกเกล้าศึกษา วันอังคารที่ 23พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
เริ่มประชุมเวลา 09.30 น.

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ : การรวบรวมเอกสารควรจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ ผลผลิตที่ได้จากงานคืองานวิจัย 50 เรื่อง โดยแบ่งเป็น 5 หมวดๆ ละ 10 เรื่อง ซึ่งไม่มีใครตอบได้ว่าที่แบ่งไว้คืออะไร บทวิเคราะห์ต้องเป็นบทความทางวิชาการ ยาว 5-8 หน้ามี เชิงอรรถ ฟุตโน้ต กรรมการวิชาการเลยต้องการให้ระดมความเห็น

มีคำถามคือ

1. บทความ 50 เรื่อง 5 หมวด ควรจะมีอะไรบ้าง บางคนบอกว่าพระราชประวัติมีมากแล้ว จะมีมุมใหม่อะไรเพิ่มเติมบ้างไหม

2. ภาพใหญ่ของพระปกเกล้าศึกษาควรมี แนวทางอย่างไรบ้าง

ศาสตราจารย์ นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์  : พิพิธภัณฑ์มีของน่าสนใจมาก แต่คนดูไม่ได้อะไรมาก เรื่องมุมมองประเด็นใหม่ๆ เรื่องความขัดแย้งการมีส่วนร่วม เรื่องการสละราชสมบัติ ก็เป็นเรื่องความขัดแย้ง และความปรองดอง น่าจะสามารถเรียนรู้ได้จากเหตุการณ์นั้น

การมีส่วนร่วมของผู้เข้าไปขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ มีประชาชนเข้าร่วมด้วยหรือไม่ เรื่องธรรมาภิบาล ในสมัยนั้นมองเรื่องนี้ลึกซึ้งแค่ไหน การออกกฎหมาย นิติรัฐ ลองเอาความสนใจในปัจจุบันเป็นโจทย์ ไปวิเคราะห์กับเหตุการณ์สมัยนั้น

รองศาสตราจารย์ ดร. พรทิพย์ ดีสมโชค : 5 หมวด มีการเมืองการปกครอง มีเรื่องต่างๆ 5 หมวดคืออะไร เรื่องการสื่อสารมวลชน เรื่องภาพยนตร์ ใน 5 หมวด จะจัดอยู่ในหมวดไหนการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ประเพณีศิลปะ สังคม หรืออย่างไร เคยทำเรื่องแนวความคิดและการติดต่อสื่อสารสมัยพระปกเกล้า จากการทำวิจัยพบว่าท่านทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านภาพยนตร์ สื่อสารมวลชน ทางหนังสือพิมพ์ด้วย ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เราควรทบทวนมั๊ยว่า 5 หมวดหลักคืออะไรบ้าง เพื่อให้จัดหมวดหมู่ได้ และนำไปสังเคราะห์ได้ ซึ่งตอนทำโครงการที่ทำหมวดละ 10 เรื่องน่าจะเป็นการประมาณการ ถ้าจัดใหม่จะได้ทราบว่าแต่ละหมวดควรมีกี่เรื่อง

รองศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญศิริ เจริญพจน์ : จากเอกสารที่ทำเน้นเอกสารจากฝรั่งเศสเริ่มต้นจากเอกสารที่ฝรั่งเศสมี เริ่มจากประวัติการศึกษาตอนไปเรียนที่โรงเรียนเสนาธิการ ที่ยังไม่เคยเผยแพร่มาก่อน และเอกสารเกี่ยวกับทัศนคติที่ฝรั่งเศสมองเกี่ยวกับพระปกเกล้าในฐานะที่เคยเป็นนักเรียนเก่า โดยพยายามสอดแทรกอิทธิพลต่างๆ เข้ามา มีเอกสารพูดเกี่ยวกับเรื่องกฎมณเฑียรบาลที่พูดว่าคลุมเครือมาก ตอนเปลี่ยนแปลงการปกครองก็มีพวกความเห็นผู้ช่วยทูตทหาร ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ยังไม่มีการเผยแพร่ ต้องดูขอบเขตว่าเอกสารพวกนี้จะช่วยได้เพียงใด หนังสือพิมพ์จะไม่ลงลึกในรายละเอียด

รองศาสตราจารย์ ดร. พรทิพย์ ดีสมโชค : ในทางภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ ในสมัยพระองค์เมื่อ 80 ปีก่อน สื่อหนังสือพิมพ์เป็นสื่อสำคัญมีการต่อสู้ทางความคิดและการเคลื่อนไหว ท่านทรงเปิดกว้างยอมให้หนังสือพิมพ์มีอิเสรีภาพมาก เช่น นักต่อสู้ทางด้านความคิดกุหลาบ สายประดิษฐ์ พระองค์วรรณ สะท้อนให้เห็นว่าในสมัยของท่านเป็นการสนับสนุนให้เกิดความเติบโตของสื่อสารมวลชน

อาจารย์ ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร : ปีนี้มีการทำวิจัยเรื่องภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทย(ศึกษาเฉพาะสมัยรัชกาลที่6-รัชกาลที่7)  จากการสำรวจหนังสือพิมพ์เก่า ช่วงต้นก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ความเข้มข้นภาพการ์ตูนมีอยู่บนปก แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองภาพล้อหน้าปกหายไป ซึ่งอาจเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อ แต่ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็มีน้อยลง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุตรี สุวรรณบุศย์ : ได้พบกับคุณหญิงจำนงศรี หาญเจนรักษ์ และได้หารือว่าทำเอกสารชั้นต้นไว้แล้วทางพิพิธภัณฑ์จะเก็บไว้จะไม่เป็นประโยชน์อะไร จะทำอย่างไรดี เลยเรียนว่า เรากำหนดตัวโครงหลักไว้ แล้วแบ่งเป็นหัวข้อเล็กๆ ให้นักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ไปทำ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วันชัย วัฒนศัพท์ : มี archive ที่สวีเดน มีกงสุลไทยประจำสวีเดนดูแลอยู่ มีเรื่องเกี่ยวกับคนไทยอยู่มาก ซึ่งน่าจะมีเรื่องเกี่ยวกับพระปกเกล้าอยู่ด้วย หนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับเมืองไทยอยู่ กงสุลเป็นพ่อค้าใหญ่เจ้าของเรือเดินสมุทรที่สวีเดน ถ้าใครมีโอกาสไปควรเข้าไปหาข้อมูลที่นั่น ข้อมูลหนังสือพิมพ์ยุโรปทั้งหมดที่เกี่ยวกับประเทศไทย เป็นโกดังเก็บข้อมูลใหญ่ๆ

ศาสตราจารย์ พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ : เข้าใจถึงความกังวลของฝ่ายพนักงานประจำที่ต้องทำตามโจทย์ที่ต้องมีผลผลิต 50 เรื่อง ไม่มีทางที่จะเป็นงานวิเคราะห์ที่ลึกมาก น่าจะเป็นเพียงบทความลงหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร 3-5 หน้า แต่จะไปลงที่ไหนถึง 50 เรื่อง เช่น นิตยสารความรู้คือประทีป มีปีละสี่เล่ม อาจส่งให้เล่มนี้เป็นเรื่องนึงไปเลย หรือหากใครมีลูกศิษย์ก็อาจหามาช่วยเขียน หรือลงมติชนสุดสัปดาห์ ให้อาจารย์โกวิทเขียนลง หรือเล่มอื่นถ้าหากมีหลักฐานใหม่ๆ ก็คงมีที่นำไปลงพิมพ์ให้

รองศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญศิริ เจริญพจน์ : กำลังจะทำรายงานฉบับสมบูรณ์ บางบทความน่าจะนำมาเขียนตีพิมพ์เผยแพร่ได้

อาจารย์ วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ : ตัวโครงการไม่ใช่เรื่องการเขียนบทความ เป็นการจัดกลุ่มเอกสารชั้นต้นก่อน แล้วนำมาแยกหมวดหมู่ วิเคราะห์แต่ละหมวดทั้ง 5 หมวด โครงการมีค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูลไม่น้อยกว่า 50 รายการ ไม่ใช่ 50 เรื่อง

อาจารย์ ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร : มีข้อมูลจำนวนหนึ่งอยู่ที่ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษา แต่ยังไม่มีการจัดหมวดหมู่

ศาสตราจารย์ พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ : ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูลไม่น้อยกว่า 50 รายการ แต่ผลผลิตเป็นบทวิเคราะห์ 50 เรื่อง ไม่น่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน

อาจารย์ ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร : เนื่องจากตอนทำงบประมาณต้องรีบเร่งทำให้ทันกำหนด ทำให้รายละเอียดไม่ตรง นอกจากนั้นตอนนี้ได้ทำ Blog รวบรวมบทความเกี่ยวกับพระปกเกล้าศึกษาจำนวนหนึ่งไว้ และทำจดหมายข่าว จะนำมารวมด้วยได้หรือไม่ มีพวกบทความเผยแพร่นิทรรศการ และได้ติดต่อทาบทามให้ รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ให้มาช่วยทำโครงการนี้ด้วยแล้ว

รองศาสตราจารย์ ดร. พรทิพย์ ดีสมโชค : เรียน ถามท่านประธานว่าได้มอบหมาย รองศาสตราจารย์
ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ แล้วหรือไม่

ศาสตราจารย์ พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ : เนื่องจาก รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ได้ทำวิจัยมาแล้ว ซึ่งก็คงจะใช้ฐานที่ทำไว้แล้วมาเขียนบทความ ถ้าให้ รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ ทำก็จะไม่มีความหลากหลายทางมิติ ก็จะเป็นกลุ่มเอกสารที่อาจารย์นครินทร์คุ้นเคย แล้วสุดท้ายต้องจัดหมวดหมู่หรือไม่ตัวโครงการดูจากผลผลิตเขียนว่าเป็นบทวิเคราะห์ แต่ตัวในโครงการเป็นการจัดหมวดหมู่ไม่ไปด้วยกัน

หม่อมหลวง วัลย์วิภา จรูญโรจน์ : มีสองกลุ่มคือ มีกลุ่มที่ทำฐานข้อมูลไว้ กับอีกกลุ่มที่จะสร้างคุณค่าของฐานข้อมูลนั้น การต่อยอดเป็นบทความจากฐานข้อมูลทั้งหลาย ต้องถามว่าต้องการจากรองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ หรือจากคณะกรรมการเท่าไหร่ พระปกเกล้าศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ที่จะย้อนกลับไปดูมาตรฐานในสมัยรัชกาลที่ 7 เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับสังคมปัจจุบัน เหมือนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มรองศาสตราจารย์ดร. นครินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ที่นี่ และผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยทำงานมีผลงานและคอยช่วยบอกว่าอะไรคือคุณค่า

ศาสตราจารย์ พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ : ถามย้อนว่าการจัดหมวดหมู่ กับการเอาเอกสารมาวิเคราะห์ เท่ากับมีงาน 2 งาน คือ การจัดหมวดหมู่จะเป็นงานที่ให้ฝ่ายพนักงานประจำทำหรือจะจัดจ้างทำ ความยากง่ายแค่ไหน อาจรวมถึงการวางระบบไว้และรอเอกสารที่จะเข้ามาเพิ่ม การวางระบบการจัดหมวดหมู่เข้าใจว่าควรเป็นภาพใหญ่ บางส่วนมีแล้ว บางส่วนยังไม่เต็ม คิดว่าจะให้ใครทำ

อาจารย์ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร : ทางฝ่ายประจำมีคุณสายสุนี ศรีสุวรรัตน์ เป็นประธานการรวบรวมหมวดหมู่ และมีพนักงานพิพิธภัณฑ์ส่วนหนึ่งเป็นคณะทำงานเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่

คุณสายสุนี ศรีสุวรรัตน์ : รับผิดชอบจัดทำเฉพาะการจัดหมวดหมู่ภาพถ่ายเท่านั้น สำหรับเรื่องเอกสารไม่เกี่ยวข้องกัน แต่เห็นด้วยในเรื่องการรวบรวมและจัดหมวดหมู่ แล้วนำมาวิเคราะห์เป็นบทความ

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ:ตอนนี้ยังไม่มีการจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจนอาจเรียงแยกเป็นประเทศ แบ่งตามหัวข้อ เศรษฐกิจ การเมือง การทหาร การจัดหมวดหมู่ต้องอ่านแล้วเข้าใจเอกสารโดยเร็ว บางทีอาจต้องไปเชิญคนเก็บข้อมูลมาคุยกัน บางทีอาจจัดไว้แล้วซึ่งไม่เหมือนกัน อาจต้องมีแกนนำหนึ่งทีม เพื่อวางระบบหมวดหมู่ ทางสำนักงานจะทำเองได้หรือไม่ หรือจะต้องจ้างซึ่งต้องมีค่าใช้จ่าย สุดท้ายแล้วเงินค่าจ้างอาจไม่เพียงพอ เพราะต้องใช้ทั้งในการจัดหมวดหมู่ จะมาใช้ในการวิเคราะห์ด้วยคงไม่เพียงพอ

รองศาสตราจารย์ดร. เพ็ญศิริ เจริญพจน์ : เป็นเรื่องของเงื่อนเวลาด้วยที่ไม่เพียงพอสำหรับการวิเคราะห์

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ : เวลาที่เหลือกับจำนวนเงินกับเวลาเท่านี้ คงใช้ได้เพียงจ้างคนมาจัดหมวดหมู่ วางระบบให้สำหรับเอกสารที่จะเข้ามาใหม่ และทำให้สามารถสืบค้นได้ง่าย เท่าที่ดูจากเอกสารเสนองบประมาณมีเขียนว่าค่าจ้างเหมา เก็บวิเคราะห์ รวบรวมไม่น้อยกว่า 50 รายการ แต่อีกหน้าเขียนว่าเป็นบทความ 50 เรื่อง

หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ : อยากให้ทำง่ายๆ ในวงเงินเท่านี้ คือโครงการนี้คล้ายกับว่าอาจารย์นครินทร์เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ จะจัดหมวดหมู่อย่างไร จะมีแรงผลิตบทความได้เท่าไหร่ ส่วนทางกลุ่มฝรั่งเศส จะทำเป็นบทความได้เท่าไหร่ และอีกกลุ่มคือกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำงานด้านนี้อยู่แล้ว เหมือนเป็นการทำมาตรฐาน

ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ : ถ้าอาจารย์นครินทร์รับทำจะเป็นรับทำทั้งระบบหรือเฉพาะกลุ่มเอกสารที่เคยทำมา

อาจารย์ฉัตรบงกช : ติดต่อกับอาจารย์นครินทร์ไว้บ้างแล้ว โดยที่อาจารย์นครินทร์บอกว่ายินดีมาช่วยในโครงการนี้

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง : เห็นว่าต้องมีเนื้องาน สองงาน คือการวางระบบเอกสารที่เกี่ยวกับพระปกเกล้าศึกษาทั้งหมด วางระบบข้อมูลศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษา ทั้งรูปภาพ เอกสาร ภาพยนตร์

อาจารย์ฉัตรบงกช : เอกสารส่วนใหญ่ไปสำเนามาจากหอจดหมายเหตุชาติ กรมศิลปากร

นายฐาณิฏ ลิมปะพันธุ์ : มีบัญชีรับเข้า ระบบค้นข้อมูลยังไม่เรียบร้อยดี แต่มีวัตถุดิบอยู่แล้ว

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง : มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษากี่คน ถ้ามีผู้ใหญ่มาคอยชี้แนะ มีที่ปรึกษา คอยให้ทิศทางแล้วให้เจ้าหน้าที่ประจำทำงาน จะได้หรือไม่

รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ : ต้องมีคนที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยด้านวิชาการ

รองศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญศิริ : อาจขอความช่วยเหลือจากคนทำโครงการแต่ละคนมา

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง :ทั้งหมด ไม่ต่อเนื่องเป็นระบบ การวางระบบใหญ่ๆ คงต้องค่อยๆ พัฒนา เพื่อให้เห็นภาพของความเป็นพระปกเกล้าศึกษา ทางเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอยู่น้อย อาจต้องมีการจ้างนักศึกษามาช่วยทำข้อมูล ทำระบบ จ้างมาทำพาร์ทไทม์ เพื่อให้เป็นระบบเอกสารที่เรียบร้อย ควรที่จะต้องจัดระบบเอกสารให้เรียบร้อยก่อน หากไม่ได้จำนวนบทความถึง 50เรื่อง ก็ไม่น่าจะเป็นไร เพราะเหตุหลักควรจะทำเรื่องระบบให้เรียบร้อยก่อน

นายสาโรจน์ จิตติบพิตร : ทางคุณฉัตรบงกชได้วางกรอบการทำงานไว้หรือยัง

อาจารย์ฉัตรบงกช : ได้ติดต่อวางกรอบกว้างๆกับอาจารย์นครินทร์บ้างแล้ว

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง : คุณฉัตรบงกชต้องการบทวิเคราะห์มากกว่าต้องการการจัดระบบเอกสาร

อาจารย์ฉัตรบงกช : โครงการนี้เปลี่ยนมาจากงบประมาณการจัดนิทรรศการหมุนเวียน ซึ่งโดยปกติต้องจัดนิทรรศการหมุนเวียนอย่างน้อยปีละหนึ่งเรื่อง

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง : โครงการรวบรวมวิเคราะห์เอกสารพระปกเกล้าศึกษา ขั้นแรกก็คือต้องรวบรวมก่อน ส่วนจะได้บทความกี่อันก็แล้วแต่ ควรจะวางระบบให้ได้ก่อน ถ้าจะจัดจ้างก็ได้ แต่ผลผลิตไม่ใช่บทความควรเป็นระบบการจัดเอกสารที่สมบูรณ์ ถ้าวางระบบไว้ให้ค้นคว้าข้อมูลที่เป็นระบบ  นักวิชาการที่จะเขียนบทความก็จะมาค้นคว้าได้ง่ายขึ้น และจัดทำบทความได้มากขึ้น

         โดยสรุปคือ โครงการนี้ควรถ่วงน้ำหนักอยู่ที่การวางระบบเอกสารที่มีความเชื่อมโยงกัน ทั้งที่มีอยู่ที่นี่ หรือรวบรวมจากที่ต่างๆ ทั้งเอกสาร ภาพยนตร์ ภาพถ่าย เพื่อให้การวางระบบเอกสารมีความสมบูรณ์ โดยอาจให้เจ้าหน้าที่ประจำเป็นหลักแล้วมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เป็นที่ปรึกษาทำระบบหมวดหมู่เอกสาร และจ้างนักศึกษาช่วงปิดภาคฤดูร้อนมาช่วยงาน ส่วนทางอาจารย์ที่ได้ทำงานวิจัยเอกสารต่างๆ มาแล้วอาจจะช่วยทำบทความมาเผยแพร่ได้ เพื่อให้คนภายนอกรู้ว่าเรามีเอกสารอะไรอยู่ที่นี่บ้าง คนที่ต้องการข้อมูลจะได้มาที่นี่

รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศิริ : ระหว่างนี้ก็ศูนย์ข้อมูลก็สามารถแนะนำเอกสารที่น่าสนใจเผยแพร่ออกไปได้

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง : การแบ่งหมวดออกไปก็แล้วแต่ ไม่ได้ตายตัวว่าต้องมีกี่แบบ ขึ้นอยู่กับคณะที่ปรึกษาทางวิชาการของพิพิธภัณฑ์ฯ

รองศาสตราจารย์ดร. เพ็ญศิริ : เอกสารต่างประเทศมีบรรณานุกรมอยู่ด้วยแล้ว ทางนักศึกษาปริญญาโทก็เอาไปทำเป็นวิทยานิพนธ์ สำหรับบทความก็อาจจะเขียนมาให้ได้

นายบุญพีร์ พันธ์วร : เรื่องภาพถ่ายกับภาพยนตร์ บางครั้งไม่มีเอกสารจดหมายเหตุ ตอนนี้กำลังกู้สภาพภาพยนตร์อยู่ หากนักวิชาการท่านใดมีข้อมูลก็จะช่วยได้มาก

รองศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญศิริ : เอกสารต่างประเทศก็น่าจะรวบรวมมาหมดแล้ว แต่เอกสารบางส่วนที่อยู่ตามบ้านเจ้านายราชตระกูลต่างๆ จะติดต่อรวบรวมมาได้อย่างไร

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง : อาจต้องเชิญทางหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเป็นกรรมการ เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ อาจมีกรรมการซัก 3-5 คนมาช่วย

รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์ :ให้แต่ละคนทำไปเองดีกว่า แล้วค่อยนำมาเชื่อมกัน ทำสารบรรณแต่ละเรื่องไว้ เพื่อให้คนที่สนใจมาดูได้ เนื่องจากแต่ละคนมีความชำนาญของตัวเอง ให้ทางนี้เป็นตัวเชื่อมให้ เป็นศูนย์กลาง แต่จะข้ามขั้นไปเอาบทความก่อนคงไม่ได้ ควรรวบรวมข้อมูลมาไว้ก่อน งบประมาณสามแสนคงทำอะไรไม่ได้มาก

นายสาโรจน์ จิตติบพิตร : ระหว่างการจัดระบบทำข้อมูล ควรนำมาประชาสัมพันธ์คู่ขนานกันไป อาจเป็นเสวนา เพื่อให้มีความเคลื่อนไหว

รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศิริ : จะมีการจัดของโครงการเอกสารฝรั่งเศสไปร่วมงาน La Fete

ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง   : ขอปิดประชุม เวลา 12.00 น.


 

ความคิดเห็น

  1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วันชัย วัฒนศัพท์ : มี archive(s) ที่สวีเดน
    ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง : โครงการรวบรวมวิเคราะห์เอกสารพระปกเกล้าศึกษา ขั้นแรกก็คือต้องรวบรวมก่อน ส่วนจะได้บทความกี่อันก็แล้วแต่ ควรจะวางระบบให้ได้ก่อน ถ้าจะจ้าง อ.นครินทร์ ก็ได้ แต่ผลผลิตไม่ใช่บทความควรเป็นระบบเอกสารที่สมบูรณ์ ถ้าวางระบบไว้ให้สมบูรณ์คนที่จำ(จะ?)ทำบทความก็จะมาค้นได้ง่ายขึ้น ทำบทความได้มากขึ้น

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั