ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

(ร่าง) ข้อกำหนดเพื่อปรับปรุงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 7


(ร่าง)

สถาบันพระปกเกล้า มีความประสงค์จะประกวดราคาจ้างเหมาปรับปรุงนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีข้อกำหนด เวลาดำเนินการ และรายละเอียดคุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นซองประกวดราคา เป็นดังนี้

1. กำหนดเวลาดำเนินการตามขั้นตอนการประกวดราคา ณ สถาบันพระปกเกล้า ดังนี้

1.1 กำหนดประกาศประกวดราคา ในระหว่างวันที่ 8-25 เมษายน 2554

1.2 กำหนดวันดูสถานที่และชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ในวันที่ 26 เมษายน 2554 ตั้งแต่เวลา 16.00-18.00 น. ณ ห้องประชุม 1 พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และบริเวณพื้นที่ดำเนินงาน

1.3 กำหนดยื่นซองประกวดราคา โดยยื่นซอง 2 ซอง ปิดผนึกให้เรียบร้อย พร้อมประทับตรา (ถ้ามี) ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องพัสดุ สถาบันพระปกเกล้า

ซองที่ 1 เอกสารบทความแสดงเค้าโครงเรื่องและสาระสำคัญของเนื้อหาสำหรับการปรับปรุงนิทรรศการถาวร รวมถึงเอกสารดังต่อไปนี้

(1) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมถึง กิจการร่วมค้าจดทะเบียน ให้ยื่นสำเนาเอกสารพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ให้ครบถ้วน ดังนี้

(1.1) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกให้ไว้ไม่เกิน 6 เดือน นับถึงวันยื่นซอง

(1.2) บัญชีรายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี)

(1.3) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน

(1.4) ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) กรณีบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด รวมถึงนิติบุคคลร่วมค้าจดทะเบียน หรือ นิติบุคคลร่วมค้าที่มีหนังสือสัญญาร่วมทำงาน ให้ยื่นสำเนาเอกสารพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ให้ครบถ้วน ดังนี้

(2.1) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกให้ไว้ไม่เกิน 6 เดือน นับถึงวันยื่นซองประกวดราคา

(2.2) หนังสือบริคณห์สนธิ พร้อม บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)

(2.3) บัญชียืนยันรายชื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) และรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่

(2.4) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน

(2.5) ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(3) หนังสือมอบอำนาจ ซึ่งปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย ในกรณีที่ผู้มีอำนาจ มอบให้ผู้อื่นยื่นซองประกวดราคาแทน และ/หรือ มอบอำนาจให้ผู้อื่นลงนามในใบเสนอราคาแทนโดยหนังสือมอบอำนาจข้างต้น จะต้องระบุการมอบอำนาจกระทำการให้ชัดเจน ว่ามอบอำนาจให้กระทำการอันใด เช่น ยื่นซองประกวดราคา, หรือลงนามในใบเสนอราคา หรือทั้ง 2 กรณี เป็นต้น

(4) สำเนาหนังสือรับรองผลงานและสำเนาสัญญาจ้างของงานที่ออกตามหนังสือรับรองผลงานพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง



ซองที่ 2 Layout และ Floor Plan ของการปรับปรุงนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งหมด และใบเสนอราคาพร้อมตารางใบแจ้งปริมาณงานและราคา ซึ่งจะต้องแสดงรายการวัสดุอุปกรณ์ค่าแรง ภาษีประเภทต่างๆ รวมทั้งกำไรไว้ด้วย

1.4 กำหนดเปิด ซองที่ 1 ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2554 และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกเปิดซองที่ 2 ภายใน วันที่ 16 มิถุนายน 2554 ณ บอร์ดประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า และทาง www.kpi.ac.th

1.5 กำหนดเปิดซองที่ 2 ภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2554 ตามประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกตามข้อ 1.4 โดยผู้ได้รับการคัดเลือกต้องเข้านำเสนอ และประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกในวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ณ บอร์ดประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า และทาง www.kpi.ac.th

2. ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

2.1 เป็นนิติบุคคลหรือกลุ่มนิติบุคคล (Joint Venture) จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย และต้องเป็นผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานในลักษณะเดียวกับงานที่ประกวดราคาจ้างในครั้งนี้ โดยมีผลงานการจัดทำ ติดตั้งนิทรรศการและชิ้นงานภายในพิพิธภัณฑ์ทางด้านต่างๆ ซึ่งได้ดำเนินงานแล้วเสร็จสมบูรณ์ มาไม่เกิน 7 ปี นับถึงวันยื่นซองประกวดราคา ในวงเงินค่าจ้าง ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท เป็นผลงานที่เป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเป็นผลงานที่จัดทำใน ต่างประเทศที่ สถาบันพระปกเกล้า เชื่อถือได้

2.2 ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว หรือเป็นผู้ที่ห้ามเข้าเสนอราคาหรือห้ามเข้าติดต่อใดๆ กับสถาบันพระปกเกล้า หรือเป็นผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญากับสถาบันพระปกเกล้า จนถูกบอกเลิกสัญญา

2.3 ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย เว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันเช่นว่านั้น

2.4 ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่สถาบันพระปกเกล้า ณ วัน ประกาศประกวดราคา หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ในการประกวดราคา

2.5 เป็นผู้ที่มีคณะบุคลากร หรือสถาบันหรือองค์กร ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการจัดทำข้อมูลวิชาการและการนำเสนอนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์สาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ ตลอดระยะเวลาดำเนินการงานตามประกวดราคาจ้างนี้

การดำเนินการประกวดราคาจ้างในครั้งนี้ มีราคากลางเป็นเงิน 7,000,000.00 บาท

(เจ็ดล้านบาทถ้วน) ผู้สนใจยื่นซองประกวดราคาติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2141-9656 โทรสาร 0-2143-8185



ประกาศ ณ วันที่ เมษายน 2554


(นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ)

รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า รักษาการแทน

เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า



(ร่าง)เอกสารประกวดราคา

ประกาศสถาบันพระปกเกล้า

ลงวันที่ 8 เมษายน 2554

เรื่อง ประกวดราคาจ้างเหมา ปรับปรุงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

         ด้วยนิทรรศการถาวรพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งจัดแสดงอยู่ที่ชั้น 2 และ 3 ของอาคารอนุรักษ์ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 ได้เสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับปรุงนิทรรศการถาวรสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 โดยจัดแสดงที่ชั้น 1 อาคารอนุรักษ์

        ดังนั้นในปีงบประมาณ 2554 สถาบันพระปกเกล้ามีความประสงค์ที่จะให้มีการปรับปรุงนิทรรศการถาวรที่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ดีขึ้นทั้งทางสภาพกายภาพ เนื้อหา สื่อ และวัตถุจัดแสดง เพื่อให้ดึงดูดความสนใจ และเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยแก่สาธารณชนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวาระที่พิพิธภัณฑ์ฯ จะครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งใน พ.ศ. 2555

2. วัตถุประสงค์

ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพิพิธภัณฑ์บุคคลสำคัญ

2.1 เพื่อปรับปรุงนิทรรศการถาวรที่อาคารอนุรักษ์ให้เนื้อหาในแนวเรื่อง “การพัฒนาประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7 ” มีความเด่นชัดยิ่งขึ้นโดยไม่กระทบต่อการนำเสนอพระราชประวัติตามลำดับเวลาซึ่งเป็นลักษณะนิทรรศการที่นำเสนออยู่แต่เดิม โดยยังถือว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น “ตัวแสดงเอก” ของเรื่อง ซึ่งย่อมมี “ตัวแสดงประกอบ” ที่หลากหลาย การที่ถือเช่นนี้หมายความว่า ต้องนำเสนออย่างเข้าถึงเข้าใจ (Empathic) พระองค์เท่าที่จะทำได้มากกว่าการมุ่งสรรเสริญหรือวิพากษ์วิจารณ์ อีกทั้งให้พื้นที่เชิงวิชาการแก่ “ตัวแสดงประกอบ” ที่สำคัญเพียงพอแก่การทำความเข้าใจประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองในสมัยนั้นอย่างรอบด้านตามสมควร ทั้งหมดเพื่อมุ่งหวังให้นิทรรศการถาวรทำหน้าที่กระตุ้นและอำนวยให้สาธารณชนในปัจจุบันและอนาคตได้ศึกษาเรียนรู้เป็นบทเรียนจากประวัติศาสตร์

2.2 เพื่อให้เนื้อหาของนิทรรศการทั้ง 3 ชั้นมีความสอดคล้องกัน และไม่มีความซ้ำซ้อนกัน

2.3 เพื่อให้นิทรรศการมีลักษณะทางกายภาพ เนื้อหา และวัตถุจัดแสดงที่ดึงดูดความสนใจของสาธารณะชนทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันทำการสื่อสาระความรู้เชิงลึกมากขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเป็นพิเศษ โดยมีความเชื่อมโยงไปสู่บริการของศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษาซึ่งเป็นองค์ประกอบของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่อาคารรำไพพรรณี

2.4 เพื่อซ่อมแซมส่วนนิทรรศการถาวรชั้น 1ที่ถูกปลวกกัดกินไม่น้อยกว่า 5 จุด และปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาการจัดแสดงในปัจจุบันให้สอดคล้องกันทั้ง 3 ชั้น

3. ลักษณะงาน

3.1 ลักษณะทั่วไป

เป็นการปรับปรุงนิทรรศการถาวรพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ชั้น 2 และ 3 และนิทรรศการถาวรสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ที่ชั้น 1 อาคารอนุรักษ์เพื่อให้อยู่ในสภาพดีโดยรวม และเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เนื้อหาในแนวเรื่อง “การพัฒนาประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7 ” มีความเด่นชัด และดึงดูดความสนใจใฝ่ศึกษายิ่งขึ้น โดยไม่กระทบมากนักต่อการนำเสนอพระราชประวัติโดยรวมตามลำดับเวลาดังที่เป็นอยู่ทั้งหมดด้วยวัสดุที่เหมาะสมคงทน มีการป้องกันปลวกและแมลงต่างๆที่อาจมาทำความเสียหาย

อีกทั้งเป็นการออกแบบและจัดพิมพ์แผ่นพับและสื่อเผยแพร่พิพิธภัณฑ์ฯ และนิทรรศการปรับปรุงใหม่

3.2 ลักษณะของเนื้อหานิทรรศการ

3.2.1 เป็นเนื้อหาในแนวเรื่อง

“การพัฒนาประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7” ซึ่งเมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ประกอบจึงหมายถึง “พระราชดำริ และพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบรัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (constitutional monarchy) ในบริบทของประวัติศาสตร์แห่งรัชสมัย” ทั้งนี้ครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่ต้นรัชกาลถึงการเสด็จประพาสประเทศต่างๆในทวีปยุโรป 9 ประเทศ (พ.ศ. 2476-2477) และการสละราชสมบัติ โดยร้อยเรียงเรื่องราวทั้งหมดเข้าด้วยกันอย่างมีบูรณาการ

3.2.2 เป็นเนื้อหา (บทนิทรรศการ) ที่ในรูปแบบหนึ่งเอื้อให้สาธารณะชนทั่วไปเข้าใจประเด็นหลักๆได้ไม่ยาก แต่ในอีกรูปแบบหนึ่งให้ความรู้เชิงลึกแก่ผู้ที่สนใจเป็นพิเศษ โดยมีการบ่งชี้ให้หาประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มเติมที่ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษา และที่นิทรรศการ 2 แห่ง ทั้ง 3 แหล่งที่อาคารรำไพพรรณี

3.2.3 เป็นเนื้อหาที่เป็นผลมาจากการวิเคราะห์เอกสารสำคัญๆ ที่จัดแสดงอยู่แล้วและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสังเคราะห์เรื่องราวเข้าด้วยกันให้ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และให้เป็นภาพรวมที่เข้าใจได้ไม่ยาก ทั้งนี้ให้นำเสนอคำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยอย่างถูกต้องและตรงกับบริบทไว้พร้อมกับเอกสารภาษาต่างประเทศ

3.2.4 เป็นเนื้อหาที่สอดแทรกข้อมูลและบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ไว้ด้วย

ก. ความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงและที่ไม่นำไปสู่ความรุนแรง กับบทบาท ของสันติวิธี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทรงสละราชสมบัติ)

ข. การส่งเสริมและการควบคุมสื่อสารมวลชนประเภทต่างๆ ในรัชสมัยโดยเปรียบเทียบระหว่างช่วงที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิ์ กับช่วงที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ค. มุมมองของต่างประเทศต่อรัชสมัยที่เชื่อมโยงกับแนวเรื่อง “การพัฒนาประชาธิปไตย” (พิพิธภัณฑ์ฯ มีเอกสารขั้นปฐมภูมิในเรื่องนี้จากสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ยุโรปบางประเทศ และญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นภาษาต่างประเทศ)

3.2.5 ส่วนในชั้นที่หนึ่ง ขอให้สรุปเนื้อหาในนิทรรศการสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ลงในสื่อดิจิทัลและสื่อประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้อาจเพิ่มภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการเสด็จฯทรงเสาะหาที่ประทับในชนบท โดยมีพระราชกระแสหรือคำพูดของบุคคล (quotations) ประกอบนิทรรศการที่จัดด้วยเพื่อสะท้อนถึงพระบุคลิกภาพ

3.3 ลักษณะของสื่อจัดแสดงและวัตถุจัดแสดง

3.3.1 เป็นสื่อที่เหมาะแก่การสื่อเนื้อหาให้เป็นที่น่าสนใจ และทำความเข้าใจได้ไม่ยากสำหรับสาธารณชนทั่วไป ตลอดจนถึงสื่อเนื้อหาเชิงลึกที่จุดประกายให้ค้นคว้าหาความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีความสนใจเป็นพิเศษ ทั้งนี้ขอให้เป็นสื่อที่ทันสมัยและสะดวกแก่การใช้งานของทั้งเด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการประเภทต่างๆ โดยอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วยสื่อ 3 ประเภท คือ

1. Digital Book หรือ E-book ใช้กับการจัดแสดงเนื้อหาที่อยู่ในรูปแบบเอกสาร

2. Digital Presentation เป็นการนำเสนอในรูปแบบของการใช้บุคคลบอกเล่าว่าในนิทรรศการแต่ละชั้นมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ

3. Hologram เป็นสื่อที่สามารถทำให้วัตถุลอยตัวได้

3.3.2 วัตถุและป้ายจัดแสดง

1. ให้ใช้เทคนิคการจัดแสดงและคัดเลือกวัสดุในการผลิตตู้ แท่น ฐาน ในการจัดวางโบราณวัตถุให้สอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์ อาทิ กระจกที่ป้องกันรังสี UV ป้องกันความร้อน อคริลิคใสในการผลิตแท่นฐาน

2. ให้ใช้ตู้จัดแสดงโบราณวัตถุที่ออกแบบให้มีพื้นที่สำหรับใส่วัสดุควบคุมความชื้นและไม่มีช่องว่างใดๆ ให้อากาศผ่านได้

3. ให้ใช้หลอดไฟที่สามารถควบคุมรังสี UV และค่าแสงไม่เกิน 60 lux

4. ให้เพิ่มจำนวนโบราณวัตถุ 12 รายการ พร้อม ตู้จัดแสดงไม่น้อยกว่า 3 ตู้ และป้ายข้อความ รวมทั้งปรับปรุงวัสดุป้ายคำบรรยายใต้ภาพทั้งหมดไม่น้อยกว่า 450 ป้ายในบริเวณชั้น 2 และชั้น 3 และแท่นฐานไม่น้อยกว่า 10 แท่น (ให้บริษัทประสานงานกับภัณฑารักษ์อย่างใกล้ชิด)

5. ให้เพิ่มเครื่องแต่งกายชายหญิงตามพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 7 เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ทดลองสวมใส่ได้

3.4 ลักษณะของแผ่นพับนิทรรศการที่ปรับปรุงใหม่

ให้ออกแบบและจัดทำแผ่นพับและสื่อเผยแพร่ที่ดึงดูดความสนใจใฝ่รู้ ซึ่งบรรจุเรื่องความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงใหม่ สภาพของนิทรรศการหลังการปรับปรุงใหม่ รวมตลอดถึงแผนผังสำหรับผู้เข้าชม และเรื่องราวและวัตถุที่น่าสนใจเป็นพิเศษ จำนวน 10,000 แผ่น

4. การเสนอราคา และระยะเวลาการดำเนินงาน

4.1. ผู้เสนอราคาส่งข้อเสนอโครงการประกอบด้วย

ก. รายนามผู้ชำนาญการทางวิชาการในเนื้อหาของนิทรรศการที่จะปรับปรุง ซึ่งผู้เสนอราคาให้เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องเนื้อหา

ข. บทความแสดงเค้าโครงเรื่องและสาระสำคัญของเนื้อหาสำหรับการปรับปรุงนิทรรศการ

ถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวเรื่อง “การพัฒนาประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7”

ค. Layout และ Floor Plan ของการปรับปรุงทั้งหมด รวมทั้งระบุวัสดุที่จะใช้

จ. องค์ประกอบของสื่อประเภทต่างๆ ที่จะใช้โดยระบุเป็นตัวอย่างว่า ณ จุดใดและ/หรือ

เนื้อหาใด พร้อมแสดงตัวอย่างสื่อแต่ละประเภทตามสมควรโดยให้เวลานำเสนอบริษัทละ ประมาณ 45 นาที

4.2 ผู้รับจ้างต้องส่งงานที่สมบูรณ์ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2555

4.3 ดำเนินการตรวจรับให้พร้อมเปิดจัดแสดงใหม่ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2555




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...