ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ข้อเสนอแนะการใช้สื่อเทคโนโลยีในการปรับปรุงนิทรรศการถาวร (ต่อ)

สื่อนิทรรศการ (เทคโนโลยี)
ให้ใช้สื่อที่เหมาะสมกับเนื้อหา ดังนี้
1) ข้อความบนบอร์ดควรเป็นการสรุปประเด็นแต่ละเรื่อง ด้วยตัวหนังสือ หรือแผนภูมิ/แผนภาพ
2) VDO อาจนำเสนอการสรุปประเด็นที่ยากๆโดยมีผู้บรรยายประกอบภาพ แผนภาพและ/หรือภาพยนตร์
3) Touch Screen สำหรับผู้ชมที่สนใจศึกษาเอกสารต่างๆให้ลึกซึ้งโดยบอกถึงแหล่งศึกษาเพิ่มเติม เช่น ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษา นิทรรศการของรัฐสภาและของสำนักคณะรัฐมนตรีที่อาคารรำไพพรรณี
4) เทปเสียง นำเสนอให้ฟังเทปและการชม VDO ก็ดี การสืบค้นที่ Touch Screen ก็ดีควรมีม้านั่งให้เหมาะสมเท่าที่จะทำได้
5) อื่นๆ ทั้งนี้ บรรยากาศ /โทนสีที่ปรับปรุงไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่เป็นอยู่อาจแตกต่างไปบ้างเพื่อให้เห็นว่าเป็นตามแนวเรื่องแทรกอยู่ในลำดับเวลาและเป็นสิ่งที่ปรับปรุง อนึ่งควรปรับปรุงพระสุระเสียงในรัชกาลที่ 7 (เสด็จเปิดสะพานพุทธในชั้นที่ 3)
วัตถุจัดแสดง
-อาจปรับวัตถุจัดแสดงบางอย่างออกหรือจัดให้ถูกต้องเหมาะสม และเสริมวัตถุจัดแสดงให้สอดคล้อง แต่ไม่ทราบว่ามีวัตถุอะไรที่เกี่ยวข้องในคลังวัตถุบ้าง จึงต้องขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนำมาเสนอ
วิธีดำเนินการ
-เห็นได้ว่าการปรับปรุงเนื้อหาวิชาการเป็นเรื่องสำคัญและละเอียดอ่อน ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่บริษัทที่จ้างมาจัดนิทรรศการจะทำได้โดยลำพังจึงน่าจะตั้งคณะผู้จัดทำเนื้อหาดังที่เคยทำนิทรรศการสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯในชั้นที่ 1 อาจเป็นผู้จัดทำเนื้อหาเดิมบางท่าน เช่น รศ.ดร.สนธิ เตชานันท์ผู้รับผิดชอบเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย และนางสาววิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ผู้เคยรับผิดชอบในเนื้อหานิทรรศการถาวรมาก่อนในชั้นที่ 2-3 และชั้นที่ 1 และควรมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา เช่น รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นต้น  ในการนี้ควรจัดความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดทำเนื้อหากับบริษัทให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน อีกทั้งจัดความสัมพันธ์ระหว่างคณะผู้จัดทำ ผู้เขียน TOR คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและคณะกรรมการตรวจรับให้สอดคล้องกันทั้งๆที่เป็นอิสระต่อกันเพื่อประสิทธิผลของงาน อนึ่งต้องเน้นย้ำกับบริษัทที่รับจ้างให้ใช้วัสดุที่แข็งแรง และมีการป้องกันปลวก รวมทั้งระบบการรักษาความปลอดภัยอัตโนมัติและประหยัดพลังงาน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั