ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อทรงพระเยาว์)

   
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประสูติเมื่อวันพุธแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  ได้รับพระราชทานพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า
          "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกร ณนาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ มหามกุฎราชพงศบริพัตร บรมขัตติยมหารัชฎาพิษิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรรัจฉริยกุล อดุลยราชกุมาร กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา มุสิกนาม"
           (พระนามที่ปรากฏในพระสุพรรณบัฎ "ศุโขไทยธรรมราชา" ต่อมาในรัชสมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เขียนเปลี่ยนไปตามที่ปรากฏในประกาศทางราชการว่า "สุโขทัยธรรมราชา")
          โดยเหตุที่ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้าย  สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเอ็นดูรักใคร่  ได้ทรงมอบให้เจ้าจอมเยื้อนในรัชกาลที่ ๕ เป็นพระอภิบาล  พร้อมทั้งหม่อมเจ้าหญิงมนัศสวาสดิ (ภายหลังเป็นพระองค์เจ้า) กับหม่อมเจ้าหยิงโพยมมาลย์ ทรงเรียกว่า "ลูกเอียดน้อย" มาแต่ยังทรงพระเยาว์   พระราชโอรสของสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ มีพระนามที่ทรงเรียกเล่นๆ ทุกพระองค์ คือ
        1. สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  ทรงเรียก "ลูกโต" ในพระราชสำนักเรียกกันว่า "ทูนกระหม่อมโต"
            2. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ  ทรงเรียก "ลูกเล็ก" หรือ "ลูกชายเล็ก" ในพระราชสำนักเรียกกันว่า "ทูนกระหม่อมเล็ก"
              3. สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ทรงเรียก "ลูกเอียด" (ภายหลังเป็นเอียดใหญ่) ในพระราชสำนักเรียก "ทูนหม่อมเอียดใหญ่"
                4. สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ ทรงเรียก "ลูกเอียดเล็ก" (ภายหลังเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชฯ สิ้นพระชนม์แล้ว "เล็ก" ก็ค่อยๆหายไป ทรงเรียกแต่ "ลูกเอียด")ในพระราชสำนักก็เรียก "ทูนกระหม่อมเอียดเล็ก" และ "ทูนกระหม่อมเอียด"
                 5. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก  ทรงเรียก "ลูกติ๋ว" ในพระราชสำนักก็เรียก "ทูนกระหม่อมติ๋ว"
         สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระราชชนนี  ได้ทรงถนอมเลี้ยงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ ทูนกระหม่อมเอียดน้อยอย่างใกล้ชิดเนื่องจากพระพลานมัยไม่ค่อยสมบูรณ์นัก จนเจริญพระชันษาสมควรจึงทรงศึกษาตามประเพณีขัตติยราชกุมาร  โสกันต์เมื่อพระชนม์ ๑๒ พรรษาแล้ว จึงโปรดฯให้ไปทรงศึกษาวิชาการในประเทศอังกฤษที่วิทยาลัยอีตัน  และทรงศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหารที่เมืองวูลิช  แผนกวิชาทหารม้าปืนใหญ่ ตามลำดับ




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...