ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ราชินีของชาวสวนเมืองจันท์


สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯกับการทำสวนที่เมืองจันทบุรี
"ฉันไม่มีความประสงค์ที่จะมีชีวิตเข้าพัวพันกับกิจการบ้านเมืองอีกเลย  แต่ประสงค์ที่จะมีความเป็นอยู่ตามแบบหญิงไทยสามัญธรรมดาด้วยการใช้ชีวิตอย่างเรียบๆ"

     สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ รับสั่งเช่นนี้แต่แรกเสด็จฯกลับมายังประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๔๙๒ หลังจากที่พระองค์ประทับ "ลี้ภัยการเมือง"อยู่ที่ประเทศอังกฤษเป็นเวลา ๑๕ ปี
     ทรงปฏิบัติตามที่รับสั่งไว้เกือบจะทันทีโดยได้ทรงเสาะแสวงหาสถานี่ในต่างจังหวัดซึ่งมีอากาศดีเพื่อสร้างที่ประทับ  หนึ่งปีถัดมาทรงเลือกที่ดินริมคลองบ้านแก้ว ห่างจากตัวจังหวัดจันทบุรีประมาณ ๕ กิโลเมตร  ซึ่งเป็นดงหญ้าคาเสียเป็นส่วนใหญ่ โปรดเกล้าฯให้ถางหญ้าคา ทำการชลประทานทดน้ำจากไหล่เขาลงมา ปรับเป็นเทือกสวนไร่นา สร้างที่ประทับครึ่งตึกครึ่งไม้ชั้นครึ่งขึ้น ณ ที่ซึ่งพระราชทานนามง่ายๆว่า "สวนบ้านแก้ว" ตามชื่อคลอง
     ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์  พระนัดดาเคยเล่าไว้ว่า สมเด็จฯรับสั่งว่าเมืองจันท์นั้นดินดี ปลูกผลไม้ได้ดีมาก  แต่จะไม่ทรงปลูกผลไม้แข่งกับราษฎร  แต่โดยที่โปรดเสื่อจันทบูร จะทรงหาทางพัฒนาการทอเสื่อให้เป็นอาชีพเสริมของราษฎรได้อย่างแท้จริงโดยการค้นหาวิธีการทำให้เมื่อย้อมสีตกแล้วสีไม่ตก  และนำเสื่อมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของใช้เครื่องใช้อื่นๆ นอกจากเสื่อรองนั่ง  ต้องทรงใช้เวลาถึง ๕ ปี ในการทรงศึกษาภูมิปัญญาการทอเสื่อของชาวบ้านเพื่่อหาทางพัฒนาตามที่ทรงตั้งพระราชหฤทัย  ทรงรับสมัครคนงานที่มีพื้นฐานอยู่แล้วเข้าทำงานในโรงทอเสื่อของพระองค์  ทั้งโปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้ากอกษัตริย์ สวัสดิวัตน์ พระอนุชาซึ่งเป็นอาจารย์ทางเคมีอยู่ที่มหาวิทยาลัยในสิงค์โปร์ทรงึกษาหาวิธีย้อมกกให้มีสีสวยและคงทนเป็นสีอ่อนๆ เช่น ชมพูอ่อน เขียวอ่อน สำเร็จแล้วจึงสอนวิธีแก่ชาวบ้านที่เป็นคนงาน โดยสมเด็จฯทรงคลุกคลีทดลองย้อมและทรงตากกกด้วยพระองค์เอง  ต่อมาทรงใช้พระปรีชาสามารถทางประณีตศิลป์ซึ่งติดพระองค์มาเมื่อทรงพระเยาว์ในราชสำนักแห่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๕ ทรงคัดลายพิกุลเล็ก พิกุลใหญ่ และลายใหม่ๆขึ้นด้วยพระองค์เอง  เพื่อทอและนำเสื่อที่ได้นำมาใช้ผลิตแผ่นรองจาน ที่รองแก้ว  กล่องกระดาษเช็ดมือ  ถาด กระเป๋าเอกสาร กระเป๋าถือสตรี ซึ่งอย่างหลังนี้ทรงแปลงแบบมาจากของนอกซึ่งทรงคุ้นเคย  ใช้กระดาษแข็งเป็นโครง มีผ้าซับใน ทั้งหมดจัดจำหน่ายภายใต้ชื่อว่า "อุตสาหกรรมชาวบ้าน สบก." (สวนบ้านแก้ว)
    สมเด็จฯ เสด็จลงทรงงานที่โรงทอเสื่อเป็นกิจวัตร ทรงสดับตรับฟังความคิดเห็นของช่างว่าดีหรือไม่ ทำได้หรือไม่  และเมื่อช่างทำผิดแบบก็มิได้กริ้ว กลับทรงพระสรวลว่าเป็นลายใหม่ รูปแบบใหม่ซึ่งดูแปลกตาดี พระราชจริยาวัตรทรงสดับความคิดเห็นของผู้อื่นดุจนักประชาธิปไตยเช่นนี้ละม้ายคล้ายคลึงกับพระอุปนิสัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบรมราชสวามียิ่งนัก
(เนื้อหาคัดลอกมาจากบทความส่วนหนึ่ง ของ ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล ตีพิมพ์ในจดหมายข่าวสถาับันพระปกเกล้าปีที่ ๖ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชกรณียกิจในช่วงพระชันษา ๔๖-๖๔ พรรษา ซึ่งประทับประหนึ่งทรงเป็นชาวสวนที่สวนบ้านแก้ว จันทบุรี)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...