ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลอนเพลงยาวการเมือง จากนสพ.สยามรีวิว พ.ศ. 2470

ภาพการ์ตูนล้อการเมืองจากนสพ.สยามรีวิว

      กลอนเพลงยาวทางการเมืองนี้มุ่งสะท้อนปัญหาของการดุลยภาพที่รัฐบาลสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงระหว่างพ.ศ. 2469-2470  เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจซึ่งมีข้อบกพร่องที่สร้างความไม่พอใจและมีการตั้งคำถามจากหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นเรื่อง "เรากำลังจะก้าวหน้าหรือถอยหลัง" ในสยามรีวิว ประจำวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2470 หน้า 37 ความว่า
   "นับจำเดิมแต่รัฐบาลได้จัดการดุลยภาพมาแล้วจนถึงเดี๋ยวนี้  เรามีอะไรบ้างที่พอจะหยิบยกขึ้นมาอวดอ้างกันได้? การยุบมณฑลลงหลายมณฑลเพื่อรวมกิจการให้รายจ่ายลดน้อยถอยลงนั้น  กลับปรากฏผลที่ได้รับไม่น่าเลื่อมใสเสียเลย เช่น โจรผู้รายแทนที่จะลดน้อยถอยลง ก็ยิ่งกลับชุกชุมขึ้น...   การดุลยภาพที่จัดทำไปมีข้อบกพร่องอย่างร้ายแรงอยู่ข้อหนึ่งคือ รัฐบาลเลือกคนดีสมกับงานไม่ได้  คนเข้าใหม่กับคนเก่าก็คือกัน  แต่คนเก่าที่ดุลย์ออกไปก็ได้เบี้ยบำนาญในเดือนหนึ่งรัฐบาลต้องจ่ายเงินให้ไม่น้อย  และคนพวกนั้นก็เป็นพวกที่ยังทำงานให้รัฐบาลได้ดีอยู่  เมื่อเป็นเช่นนี้เท่ากับรัฐบาลต้องเสียเงินสองต่อ"
ดังคำกลอนเพลงยาว ที่ยกมาตั้งคำถามว่า
"การดุลย์ออก ดันเข้านี้ได้ทำให้เราก้าวหน้าหรือถอยหลัง"



   "กล่าวความเห็นเป็นไปในปัญหา    เกี่ยวกิจการงานเมืองนานา      ใครจะด่าว่ากระไรก็ใคร่ฟัง 
อภิรัฐมนตรีที่แรกเริ่ม ห้าองค์เสริมผเดิมสุขทำนุกหวัง    ราษฎรร่มเย็นเข็ญขาดอาจประทัง
เปนที่ตั้งดังจะเทียบเปรียบเมืองแมน   แรกจัดงานการหมุนดุลยภาพ  ดูก็ราบรื่นนักสมศักดิ์แสน
ผลดีชั่วทั่วไปในแว่นแคว้น      ทรงทราบแน่นตระหนักในพระทัยแล้ว  ความแข็งแรงแห่งการท่านทั้งห้า
ทรงจัดหาหมายดีเปนที่แน่ว    แน่เจริญดำเนินไปไม่คลาดแคล้ว     เปรียบเช่นกะประทีปแก้วส่องแผ้วทาง
ทวยอาญาประชาราษฎรชาติสยาม     ต่างมีความนึกเห็นมิเว้นว่าง     มองกาลไกลไปดูรู้ท่าทาง
เปนเยี่ยงอย่างนิยมพร้อมน้อมคำนึง    แต่เหตุใดสมัยนี้มามีเรื่อง       น่าเปนเครื่องขุ่นข้องไต่ตรองถึง
จะปานกลางอย่างอ่อนและหย่อนตึง หรือขันขึงควรไฉนเราใคร่รู้    มีอาทิ ตริเถอะว่า คนตาบอด
ยังแอบออดอิดเอื้อนแฝงเพื่อนอยู่    ในราชการงานเมืองยังเฟื่องฟู  เช่นนี้ดูกระไรนักอยากจะฟัง
หรือดำริห์ อภิรัฐย่อมครัดเคร่ง       ไม่จำเกรงกริ่งหมาย คนภายหลัง เขาจะไม่ยิ้มเยาะหัวเราะทั้ง
ยกขึ้นตั้ง ติฉิน กล่าวนินทา          เมื่อเลศนัยอะไรขวางอยู่ข้างแล้ว  อย่าให้แคล้วคลาดไปได้ดีกว่า
โปรดบอกเล่าเก้าสิบหยิบยกมา      ซึ่งเหตุผลเจตนาว่าฉันใด      ยังเรื่องอื่นดื่นมากหากจะยก
มาสาธกที่แท้ๆถ้าแก้ไข                 เพียงข้อนี้นิดหน่อยเป็นไร     มหาชนคนไทยใคร่ฟังเอย ฯ

                                                                                                                                             ไทย?



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั