ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กระแสความคิดเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7

   

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นระยะที่กระแสความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแพร่ขยายไปอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ได้รับการศึกษาจากตะวันตก  จะเห็นได้จากหลังจากที่ทรงครองราชย์ได้เพียง 9 วัน  นายภักดีและนายไทย  ราษฎร จังหวัดพระนคร  ทำหนังสือกราบบังคมทูลถวายความเห็นให้พระองค์พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนเป็นพระราชภารกิจแรก  โดยอ้างเหตุผลว่า ไม่มีพระราชกรณียกิจใดที่สำคัญเท่ากับการพระราชทานรัฐธรรมนูญ (สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เอกสารรัชกาลที่ 7 ม.2-1/7 หนังสือลงวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2468  ของนายภักดีและนายไทย  กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)
            จากหนังสือกราบบังคมทูลดังกล่าว  แสดงให้เห็นว่า  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าในวันหนึ่งข้างหน้าประเทศไทยจะต้องปกครองในระบบรัฐสภา  และการที่ทรงปรึกษากับพระยากัลยาณไมตรี (Dr. Francis B" Sayre) ศาสตราจารย์สอนวิชากฏหมายแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ที่มาเยือนกรุงเทพฯในระหว่างหยุดพักฤดูร้อน ปีพ.ศ. 2469  พระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2469  ไปทรงปรึกษาเป็นการส่วนพระองค์ว่า  ถึงเวลาแล้วหรือยังที่สยามจะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นประชาธิปไตยและควรมีรูปแบบเป็นประการใด  ซึ่งพระยากลัยาณไมตรี  ได้กราบบังคมทูลถวายความเห็นว่า  ขณะนี้ (พ.ศ. 2469)  ประเทศสยามยังไม่ควรมีการปกครองในระบอบรัฐสภา  และควรใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อไปตามเดิมก่อนเพราะความสำเร็จและประสิทธิภาพของรัฐสภาเป็นผลมาจากการที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งเป็นผู้มีความรู้ทางการเมืองดีพอ 
หากรัฐสภาขาดการควบคุมจากประชาชนแล้ว  ก็อาจกลายเป็นเผด็จการทางรัฐสภาได้  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงใคร่รอให้ประชาชนส่วนมากได้รับการศึกษาให้มากพอเสียก่อนจึงให้มีรัฐสภาประกอบด้วยผู้แทนซึ่งประชาชนเลือกมาโดยตรง (อ้างจากหนังสือลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2469 ของพระยากัลยาณไมตรี กราบบังคมทูลรัชกาลที่ 7 )  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ทรงมีความเห็นสอดคล้องกับพระยากัลยาณไมตรีในเรื่องที่ว่าประเทศสยามยังขาดความพร้อม ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเตรียมการปูพื้นฐานการปกครองในระบอบรัฐสภาโดยตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่งเมื่อปลายปีพ.ศ. 2469  เรียกว่า  "คณะกรรมการจัดระเบียบองคมนตรี"  มีสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นประธาน  พระวรวงศ์ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ หม่อมเจ้าสิทธิพร  หม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  พระยาสุรินทราชา  พระยาจินดาภิรมย์  พระยาเทพวิฑุรพหุลศรุตาบดี  และพระยาโกมารกุลมนตรี  เป็นกรรมการ  การพิจารณาจัดระเบียบองคมนตรีใหม่สำเร็จลงด้วยการประชุมเพียง 5 ครั้งเท่านั้น  คือ การประชุมในวันที่ 11 ,12,13 เมษายน 2470 วันที่ 23 พฤษภาคม 2470  และวันที่ 20 มิถุนายน 2470  การที่สามารถจัดทำพระราชบัญญัติสำเร็จในเวลาอันสั้นนั้น เป็นเพราะพระราชประสงค์ประการหนึ่ง  อีกประการหนึ่ง เป็นเพราะสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตได้ทรงให้พระยาจินดาภิรมย์ (จิตร ณ สงขลา) ร่างเค้าโครงพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้นเพื่อเป็นพื้นฐานพิจารณาในที่ประชุม  รายงานการประชุมเพื่อจัดทำพระราชบัญญัติองคมนตรีใหม่นั้น  มีข้อความหลายตอนที่แสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย (รศ.ดร.สนธิ เตชานันท์ รวบรวมแผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)
       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจะพระราชทานระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนโดยเร็ว  แต่พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ได้กราบบังคมทูลให้ยับยั้งพระราชดำรินั้นไว้  ด้วยเหตุผลว่า  พลเมืองไทยยังอ่อนการศึกษาถึง 90% ของพลเมืองทั้งหมด  หากพระราชทานลงไปเมื่อใดความไม่สงบและความเดือดร้อนจะบังเกิดขึ้นทั่วพระราชอาณาจักร  เพราะคนที่ไร้การศึกษาหมู่มาก  ย่อมกระทำอะไรลงไปได้ตามอารมณ์  โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลแล้วแต่พวกมากลากไป  จึงเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะพระราชทานระบอบประชาธิปไตย  แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงเห็นว่า  คนที่ฉลาดส่วนน้อยต่างหากจะเป็นผู้นำคนโง่ให้ลุกฮือขึ้นจับอาวุธเข้าประหัตประหารกันเองจนนองเลือด  พระองค์จึงทรงมีพระราชวินิจฉัยอย่างมุ่งมั่นที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทย  เห็นได้ว่าการที่พระองค์รอเวลาที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพราะปัญหามีอยู่ว่าเมื่อไรจึงจะถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนระบอบการปกครองทรงพระราชดำริเห็นว่า เมื่อประชาชนมีความรู้พอที่จะใช้การปกครองระบบรัฐสภาอย่างได้ผลซึ่งก็คงจะต้องถึงเวลาอันควรเปลี่ยนระบอบการปกครองเช่นนั้นในวันหนึ่งอย่างแน่นอนจึงมีพระราชดำริว่า ในขณะที่รอเวลาที่จะมาถึงนั้น จะต้องคิดดูว่าจะรอให้ราษฎรเรียกร้องเอาเองหรือจะชิงให้เสียก่อน  เพราะถ้าหากขัดไว้ช้าเกินไปแล้วต้องยอมให้ก็ไม่เหมาะและอาจจะมีผลร้าย  ถ้าแม้ยอมให้เร็วเกินไป ราษฎรยังไม่มีความรู้ก็อาจไม่เป็นงานและอาจเป็นผลให้เกิดจลาจลขึ้นในบ้านเมือง  เช่นที่เกิดในประเทศอื่นๆ ด้วยเหตุนี้จึงทรงมีพระราชดำริว่าจะต้องคิดเตรียมการไว้  ทางหนึ่งที่ทรงเห็นว่าจะทำได้คือ ปล่อยให้มีการประชุมขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เช่น อังกฤษได้ทำแก่ประเทศเมืองขึ้นของตนเป็นสำคัญ โดยการให้มีสภาเทศบาลและการปกครองท้องถิ่นทรงพยายามเสาะแสวงหาความรู้ในท้องถิ่นต่างๆของประเทศเพื่อจะได้ทราบความเป็นอยู่ของประชาชน แล้วนำมาเป็นเครื่องประกอบวางนโยบายด้านการเมืองการปกครอง  พระราชกรณียกิจในการเสด็จฯไปเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นต่างๆจากเหนือสุดจรดอำเภอเชียนแสน จ.เชียงราย และใต้สุดถึงจ.ปัตตานี ยังขาดแต่ภาคตะวันออก ที่ราบสูงนครราชสีมาและภาคอีสานเท่านั้น  ซึ่งเตรียมการจะเสด็จประพาส แต่ยังไม่มีโอกาสเหมาะจะเสด็จไป
        พระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ชาวไทยนั้น  ปรากฏหลักฐานเอกสารเมื่อคราวเสด็จฯประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อรักษาพระเนตร เมื่อพ.ศ. 2474  ทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้แทนหนังสือพิมพ์ต่างๆ ในเรื่องเกี่ยวกับการปกครองว่า มีพระราชประสงค์ให้ราษฎรได้มีส่วนในการปกครองบ้านเมืองมากขึ้น  โดยจะทรงวางแนวทางชั้นต้นให้หัดในวงแคบก่อน คือออกพระราชบัญญัติเทศบาลให้ราษฎรเลือกผู้แทนเข้าเป็นคณะกรรมการจัดการปกครองท้องที่อย่างนคราภิบาลหรือเทศบาลในท้องที่ของตนแล้วจึงให้ราษฎรเลือกผู้แทนเป็นสมาชิกรัฐสภาเพื่ออำนวยและกำกับการปกครองทั่วประเทศ 
      หนังสือไทยเขษมรายเดือน ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2474ได้ตีพิมพ์เรื่องนี้ในคอลัมน์ "ความดำเนินของโลก"  ดังนี้
       "...เพื่ออำนวยและกำกับการปกครองทั่วทั้งประเทศ  ให้แสดงพระราชปรารภว่า  จะใคร่ทอดพระเนตรวิธีการเลือกของอเมริกาว่า  ให้ผลสมประสงค์ของราษฎรหรือไม่เนื่องจากพระราชดำรัสและพระราชปรารภนี้  หนังสือพิมพ์ข่าวต่างๆในส.ป.ร. อเมริกา ได้พากันออกความเห็นขนานใหญ่  ซึ่งเป็นเสียงแสดงความไม่พอใจในวิธีเลือกผู้แทนของตน  และบางฉบับก็ห้ามอย่าให้เมืองไทยเอาอย่างอเมริกา  เช่น นิวยอร์คแกรฟฟิค เป็นต้น  หนังสือพิมพ์บางกอกเดลิเมล์ของเราได้ออกความเห็นเรื่องนี้และกล่าวว่าไม่ควรถือเอาความเห็นของหนังสืออเมริกานั้นๆ ตามตัวอักษรมากเกินไปแต่ก็ไม่ควรละ เมินไม่ฟังเสียงเสียทีเดียว  เผอิญเวลานี้เป็นสมัยตกต่ำ  เต็มไปด้วยความลำบากยากแค้นและขุ่นเข็ญทั้งหลายเหล่านี้ จำเพาะมาต่อความสมบูรณ์พูนสุขซึ่งได้เสื่อมคลายหายไปหยกๆ เมื่อเร็วๆนี้เองจิตใจของอเมริกันกำลังงุ่นง่านไม่รู้ว่าจะจับติดที่ไหนและไม่อยากโทษตัวเอง ก็เลยไปโทษเอาผู้แทนที่ตัวเลือกเข้าไปเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองของบ้านเมือง  บางกอกเดลิเมล์ของเรา ซึ่งบรรณาธิการเป็นชาวอเมริกันแสดงความเห็นต่อไปว่า  ความมุ่งหมายวิธีปกครองที่ขึ้นชื่อว่า "การปกครองของราษฎร เพื่อราษฎร และโดยราษฎร" นี้เป็นความมุ่งหมายหาที่ติมิได้ เป็นแผนการปกครองวิเศษที่สุด แต่ความบกพร่องที่เห็นอยู่ในอเมริกันนั้น เกิดแต่วิธีเลือกยังไม่เหมาะ ถ้าสำหรับของเราได้คัดวิธีเลือกให้เหมาะให้ได้ผลตามน้ำใสใจจริงของราษฎรแท้จริงแล้ว แผนการปกครองอย่างใหม่นี้ก็ควรจะวิเศษสุดจริงๆ เราเห็นว่าพระราชปรารภที่ใคร่จะทรงเห็นวิธีเลือกผู้แทนของราษฎรอเมริกันว่า ได้ผลสมประสงค์ของราษฎรหรือไม่นั้น ถึงแม้วิธีของอเมริกา จะเป็นวิธีไม่ดีตามบางกอก เดลิเมล์ว่าการที่ได้ทรงเห็นด้วยพระเนตรพระกรรณ คงเป็นเครื่องประกอบพระราชดำริเป็นประโยชน์ต่อไปในข้างหน้าไม่น้อย  ในพระราชดำรัสก็แสดงพระราชกุศโลบายไว้ชัดแจ้งแล้วว่า "สยามใช้วิธีดัดแปลง (Adapt) และไม่ชอบวิธีเอาอย่างทั้งแท่ง (Adopt)"
      วิธีเลือกผู้แทนอย่างไรจึงจะได้ผลสมปรารถนาของราษฎรนี้แหละ  เป็นหัวใจของการปกครองอย่างเดโมคราซี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวย่อมทรงพระปรีชาญาณหยั่งเห็นแล้ว  จึงได้ทรงพระราชปรารภใคร่จะทอดพระเนตรวิธีเลือกผู้แทนของอเมริกาว่าให้ผลสมปรารถนาของราษฎรหรือไม่..."



      หนังสือพิมพ์ในอเมริกาหลายฉบับได้ประโคมข่าวการสัมภาษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างเอิกเกริก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่พระองค์ทรงยืนยันว่า  พอเสด็จกลับถึงเมืองไทยครั้งนี้แล้ว  ก็ทรงปฎิวัติการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยทันที  หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งได้ลงภาพล้อ เป็นบุรุษร่างเล็กสวมมงกุฎ กำลังยื่นรัฐธรรมนูญ  ซึ่งวาดเป็นม้วนกระดาษกลมๆยาวๆให้แก่ราษฎรไทย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั