ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อภิรัฐมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7

             อภิรัฐมนตรีสภา  คือ สภาการแผ่นดินชั้นสูงซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468  หลังจากขึ้นครองราชย์เพียง 2 วัน  เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  ประกอบด้วยอภิรัฐมนตรีซึ่งเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูง 5 พระองค์  ได้แก่

          1)  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
             (พ.ศ. 2402-2471) ต้นราชสกุลภาณุพันธุ์

 
        ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำรงตำแหน่งประธานอภิรัฐมนตรี ( พ.ศ.2468 )ในคณะอภิรัฐมนตรีสภา
ปลายพระชนม์ชีพ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ ทรงได้รับการถวายพระเกียรติยศสูงสุด  ให้เฉลิมพระนามเป็น สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงศักดินา 100,000 ไร่ เสมอวังหน้า"ทรงเป็นหลักเมือง ของพระบรมราชวงศ์จักรี" ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และโทรเลขเป็นพระองค์แรก


 
            2) สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
             (พ.ศ. 2424-2487) ต้นราชสกุลบริพัตร

              สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นนักการเมืองที่เฉลียวฉลาด ปราดเปรื่องพระองค์หนึ่ง ทั้งเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงขยันขันแข็ง มีพระอุสาหะวิริยะในการทำราชการให้แก่แผ่นดินและประเทศชาติเป็นอันมาก และพระองค์เป็นเจ้านายที่มีน้ำพระทัยเต็มเปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณาแก่ประชาชนโดยทั่วๆไปเป็นผู้ที่มีความสามารถพระองค์หนึ่งแห่งสังคีตดนตรีทุกชนิด ทรงสีซอสามสายได้ไพเราะ โดนเฉพาะทรงตีระนาดได้ยอดเยี่ยมและยังทรงเป็นนักกล้วยไม้บรรลือพระนามแห่งประเทศไทยสมันนั้น

           3) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2405-2486)
               ต้นราชสกุลดิศกุล
        

           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยตรัสชมพระองค์ เปรียบเทียบว่าเป็นเสมือน "เพชรประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ" กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีบทบาทในการพัฒนาประเทศให้ได้รับความเจริญก้าวหน้า ทรงพัฒนางานด้านการปกครอง การศึกษา งานด้านสาธารณสุข ทรงริเริ่มก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย และทรงเป็นปฐมเสนาบดี ก่อตั้งโรงพยาบาลในท้องถิ่นทุรกันดาร ก่อตั้งโอสถศาลาหรือสถานีอนามัยในท้องถิ่นทุรกันดาร "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"

           4) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พ.ศ.2406-2490)
              ต้นราชสกุลจิตรพงศ์

 
          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ "นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม" งานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของพระองค์ก็มี พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร พระอุโบสถวัดราชาธิวาส พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ รวมทั้งได้ออกแบบพระเมรุและพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นงานเฉพาะทางหลายครั้ง เช่นพระเมรุมาศสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ



           5) พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พ.ศ. 2417-2474) ต้นราชสกุลกิติยากร




           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอภิรัฐมนตรี ที่ปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินทรงเป็นกรรมการราชบัณฑิตยสถานปลายปี พ.ศ.2473 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถได้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม
 พ.ศ. 2474 รวมพระชนมายุได้ 58 ชันษา กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการสร้างพระรูปพระองค์ท่านประดิษฐานไว้หน้าตึกที่ทำการกระทรวงกระทรวงพาณิชย์ ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อรำลึกพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรก



           หลังจากที่สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทิวงคตแล้ว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเพิ่มอีก 1 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (2425-2475)
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2473 และต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีก 2 พระองค์ คือ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธน (2424-2479)
และพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์ วโรทัย (2426-2486)





สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน


             
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย
หรือ หม่อมเจ้าไตรทศประพันธ์ เทวกุล


  จากการศึกษาปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ของชาญชัย รัตนวิบูลย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ พ.ศ. 2519 สรุปถึงบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า อภิรัฐมนตรีทั้ง 8 พระองค์นี้เป็นพระราชวงศ์ชั้นสูงทั้งสิ้น ยกเว้น กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย แต่ละพระองค์ทรงได้รับการศึกษาอย่างตะวันตกทั้งภายใน ภายนอกประเทศ มีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างน้อยที่สุดก็เคยดำรงตำแหน่งเสนาบดี 
มูลเหตุที่ทรงแต่งตั้งบรรดาพระราชวงศ์ชั้นสูงเพราะทรงต้องการปรึกษาเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติและราชบัลลังก์
















             












ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั