ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเตรียมการปกครองระบอบประชาธิปไตย

          

            ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1  ประเทศต่างๆในยุโรปบางประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย  เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน  การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ต่อสู้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างรุนแรงการต่อสู้ระหว่างทั้งสองระบอบนี้เต็มไปด้วยการนองเลือด เช่น ในอังกฤษ ฝรั่งเศส  รัสเซีย   ตลอดจนกระแสความคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยแพร่เข้ามาในเอเชีย และจีน รวมทั้งสยาม    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสดับเหตุการณ์จลาจลในประเทศจีน  ตามรายงานที่เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศกราบถวายบังคมทูลเป็นการส่วนพระองค์  ทรงรู้สึกอนาถในพระราชหฤทัยยิ่งนัก  พ.ศ. 2453  ตรัสให้กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ  เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศอ่านรายงานเกี่ยวกับการปฏิวัติใหญ่ในประเทศจีน  ครั้นจบลงแล้วจึงมีพระราชดำรัสว่า

      "ฉันคิดว่า  มันเป็นสัญญาณของกลุ่มประเทศตะวันออกที่จะปกครองบ้านเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว  เราจะต้องตั้งปาลิเมนต์ (Paliament) และให้คอนสติติวชั่น (Constitiution) แก่ราษฎร  เขาฉลาดพอที่จะปกครองตัวเองได้หรือยังล่ะ  ฉันไม่อยากเห็นแผ่นดินไทยนองไปด้วยเลือดอย่างเมืองจีนเลยทีเดียว  สงสารพลเมืองของฉันเหลือเกิน"



     มาถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของพระองค์อยู่แล้ว  ที่จะสนองพระราชดำริของพระบรมชนกนาถ  และสมเด็จพระเชษฐาธิราช    หลังขึ้นครองราชสมบัติได้ เพียง 2 วัน ทรงตั้งสภาอภิรัฐมนตรี  และสภาองคมนตรีขึ้นตามมา ในพ.ศ. 2470  โดยแยกหน้าที่จากสภาเสนาบดี  เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย  เพราะพระราชกิจทุกอย่างมิได้มาจากพระราชอำนาจอันเป็นสิทธิขาดแฉพาะพระองค์เดียว  หากได้ผ่านการวินิจฉัยแล้วถึง 2 สภา และได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้ร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ คือพ.ศ. 2469 และฉบับพ.ศ. 2474


     "...ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า  ถ้าเรายอมรับกันว่า  วันหนึ่งเราจะต้องถูกบังคับให้มีประชาธิปไตยบางแบบขึ้นในประเทศสยามแล้ว  เราก็ต้องเตรียมตัวของเราเองให้พร้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไป  เราจะต้องเรียนรู้และให้การศึกษาแก่ตนเอง  เราจะต้องเรียนและทดลองเพื่อที่จะได้มีความคิดว่า  การปกครองระบอบรัฐสภานั้นจะดำเนินการได้อย่างไร  ในประเทศสยามเราจะต้องให้การศึกษาแก่ประชาชน  ให้เขามีการรับรู้ในทางการเมือง  ให้เขารู้จักผลประโยชน์อันแท้จริงของเขา  เพื่อที่เขาจะไม่ถูกชักนำไปในทางที่ผิดโดยนักปลุกระดม  หรือผู้ฝันถึงยุคพระศรีอาริย์  ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภากันแล้วเราก็จะต้องสอนให้ประชาชนรู้จักเลือกตั้ง  ว่าทำกันอย่างไร  และรู้จักเลือกผู้แทน  ผู้ซึ่งเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนอยู่ในใจอย่างแท้จริง..."

     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงตระหนักดีถึงสภาพปัญหาความยุ่งยากทางการเมืองดังกล่าว  แม้ในส่วนพระองค์เอง  ก็มิได้ปฏิเสธการปกครองระบอบประชาธิปไตย  แต่ขณะเดียวกันพระองค์ทรงตระหนักถึงสภาพความเป็นจริงของประเทศไทยในขณะนั้นว่า  ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีการศึกษาและความรู้ความเข้าใจทางการเมืองไม่เพียงพอที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตย  ด้วยการสร้างสรรค์สถาบันทางการเมืองให้มีทิศทางสอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น คือ การสถาปนาคณะอภิรัฐมนตรีเพื่อเป็นที่ปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดิน  และการจัดตั้งสภาองคมนตรี เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการและฝึกหัดการประชุมทำนองรัฐสภา ดังพระราชดำรัสในการเปิดประชุมสภากรรมการองคมนตรีครั้งแรกเมื่อวันที่ 30   พฤศจิกายน  พุทธศักราช 2470 ความตอนหนึ่งซึ่งสะท้อนถึงพระราชปณิธานอันมั่นคงว่า

    "เรามีความประสงค์ที่จะทดลองและปลูกฝังการศึกษาในวิธี
    การปรึกษาโต้เถียงให้สำเร็จในมติ 
    ตามแบบอย่างที่ประชุมใหญ่ 
    เพราะฉะนั้นจึงได้ดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ใช้การ
  ได้เหมาะสมตามสภาพของบ้านเมืองที่มีอยู่เวลานี้ 
   ถ้าหากถึงเวลาอันควรที่จะเปลี่ยนแปลง 
  วิธีการปกครองประเทศต่อไป  ก็จะทำได้สะดวก"

    นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระราชดำริที่จะฝึกหัดให้ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจในการปกครองตนเอง  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล  เพื่อเป็นการปูพื้นฐานทางการเมืองการเมืองในระบอบประชาธิปไตย  อย่างไรก็ดีพระราชดำริดังกล่าว  จำต้องชลอไว้ก่อนด้วยเหตุที่พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ในคณะอภิรัฐมนตรีบางพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าประชาชนยังไม่มีความพร้อมและขาดความรู้ความเข้าใจในวิถีทางประชาธิปไตย ควรจะต้องมีการปูพื้นฐานฝึกหัดทดลองอย่างค่อยเป็นค่อยไปเสียก่อน มิฉะนั้นอาจเกิดผลร้ายแก่ประเทศต่อไปได้
         อย่างไรก็ตาม  พระราชปณิธานดังกล่าวยังไม่ได้บรรลุตามพระราชประสงค์  กลุ่มคณะบุคคลที่เรียกตนเองว่า "คณะราษฎร์" ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน จำนวน 99 คน  ได้ยึดอำนาจก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ต่อมาทรงตัดสินพระทัยทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญด้วยทรงเห็นแก่ความสุขสงบของบ้านเมืองและประชาชนเป็นสำคัญ  ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จนิวัติพระนครพร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีแล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงพระปรมาภิไธย พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พร้อมกันนั้นได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้เป็นสถานที่ดำเนินงานทางการเมืองในฐานะรัฐสภาอีกด้วยในวันถัดมามีการเปิดประชุมเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475  และพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแก่ปวงชนชาวไทยในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2457  ข้อที่สำคัญคือ  ทรงเน้นการศึกษาที่จะทำให้ประชาชนมี   "นำใจดี"  ด้วยทรงมีพระราชดำริว่าความสำเร็จทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น  ขึ้นอยู่กับข้อนี้ของประชาชนเป็นสำคัญ  ดังข้อความในพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475  หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เพียง 4 เดือนเศษ ตอนหนึ่งว่า

    "...การปกครองที่จะดีขึ้นนั้น  ยิ่งเป็นแบบรัฐสภาหรือแบบปาลิเมนต์ด้วยแล้วถ้าจะดีได้ก็ต้องอาศัยความดีของประชาชน  ต้องอาศัยน้ำใจและนิสัยของประชาชนเป็นใหญ่  ถ้าประเทศใดมีประชาชนมีน้ำใจดีรู้จักวิธีการที่จะปกครองตนเองโดยแบบมีรัฐสภาจริงๆแล้ว  การปกครองนั้นก็จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศเป็นอันมาก..."
        
   ต่อมา  เมื่อความคิดเห็นทางการเมืองระหว่างกลุ่มผู้ก่อการฯและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขัดแย้งกันอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น  ทำให้ตัดสินพระทัยที่จะสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477   เมื่อทรงสละราชสมบัติแล้ว  ทรงบันทึกถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ว่า 
    
       " บัดนี้ฉันรู้สึกว่า  งานของฉันในชีวิตจบลงแล้ว 
        ฉันไม่มีอะไรจะทำอีก ...
        นอกจากจะมีชีวิตต่อไปโดยสงบที่สุดที่จะทำได้"
         และแล้ว ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคตอย่างสงบ  ณ พระตำหนักหลังน้อยในประเทศอังกฤษ
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั