แผนที่ยุโรปก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 |
รัชกาลที่ 7 เสด็จฯเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเชกโกสโลวาเกีย ปัจจุบันแยกเป็น 2 ประเทศ คือ ประเทศสาธารณรัฐเชก กับ ประเทศสโลวัก |
ขอบคุณบทความจาก ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล
คราวที่แล้ว ในจดหมายข่าวฯ ประจำเดือนมกราคม 2555 ผมได้ชี้ให้เห็นว่าการเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2476-2477 นั้น มีวัตถูประสงค์ 3 ประการ แต่ผมได้มีโอกาสนำเสนอแต่เพียงรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ประการแรก คือ เพื่อรักษาพระองค์ ในคราวนี้จึงจะพิจารณาวัตถุประสงค์ประการที่สอง คือ การทรงเจริญพระราชไมตรี ในลักษณะที่เป็นภาพรวม ส่วนรายละเอียดคงต้องหาโอกาสอื่นๆ บรรยายถึงต่อไป เพราะข้อมูลในจดหมายเหตุฯเสด็จ พระราชดำเนินฯเท่านั้นก็ร่วม 300 หน้าเข้าไปแล้ว ครั้งแรกของสยามจตุรสถาน การเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปครั้งนั้น พิจารณาได้ว่าเป็นประวัติการณ์ของสยามอยู่ 4 ประการ ประการแรกเป็นการเสด็จพระราชดำเนินนอกประเทศของพระมหากษัตริย์ ในระบอบรัฐธรรมนูญ(Constitutional Monarch) ของสยามครั้งแรก ทั้งนี้เพราะเป็นในช่วงเวลาหลังการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองพ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมิได้ทรงเป็นหัวหน้ารัฐบาลทำการบริหารปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เองอีกแล้ว หากยังคงทรงเป็นพระประมุขของชาติ ประการที่สอง เป็นครั้งแรกที่ผู้คนในทวีปยุโรปได้ชื่นชมพระบารมีของสมเด็จพระมเหสีของสยาม แม้ว่าจะได้เป็นการเสด็จครั้งแรกของสมเด็จพระราชินีพระองค์นั้น เนื่องด้วยเมื่อยังทรงเป็นหม่อมเจ้าหญิง รำไพพรรณี ได้เคยเสด็จบางประเทศในทวีปนั้นมาแล้ว ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยธรรมราชา) เสด็จไปทรงรักษาพระองค์ แล้วทรงศึกษาวิชาการเสนาธิการทหารที่ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงปลายพ.ศ.2463ถึงปลาย พ.ศ.2467 ซึ่งครั้งนั้นเป็นการส่วนพระองค์ของทั้งสองพระองค์โดยแท้ ประการที่สาม เป็นการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์สยามเป็นครั้งแรกหลังจากที่ ในที่สุดเรามีความเสมอภาคกับประเทศหลายประเทศที่เสด็จพระราชดำเนิน (โปรดดูบทความของผมเรื่อง ฟรานซิส บี.แซร์กับการเจรจาตกลงยกเลิกสนธิสัญญาไม่เท่าเทียมกันในจดหมายข่าวฯ ประจำเดือนธันวาคม 2554และพระราชดำรัสในการพระราชทานเลี้ยงฉลองวันเสมอภาคของกรุงสยาม วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2469)
ดังนั้น การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นจึงมีนัยสำคัญกว่าที่เราในปัจจุบันตระหนัก เพราะเป็นการ ที่องค์พระประมุขของสยามประเทศ ซึ่งมีความเสมอภาคกับประเทศต่างๆที่เสด็จฯประพาส ได้ทรงสานต่อพระราชไมตรีซึ่ง “สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน”อย่างน้อย 3 พระองค์ได้ทรงดำเนินมา อีกทั้งเป็นการทรงสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในประเทศเหล่านั้นว่า แม้สยามจะได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแล้วก็ตาม ไมตรีจิตที่มีต่อกันมาแต่เดิมนั้น จะยังคงมีต่อไป โดยพระองค์เอง องค์พระประมุขของชาติ ทรงเป็นสัญลักษณ์ของความต่อเนื่องดังกล่าว พระราชภารกิจเพื่อชาติประการนี้ เป็นสิ่งซึ่งได้ทรงแสดงให้เห็นว่าทรงตระหนักเป็นอย่างดี ก่อนหน้าแล้ว ในพระราชหัตถเลขาตอบคณะราษฎรลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2475 ซึ่งทรงมีจาก สวนไกลกังวล หัวหิน ว่าเป็นเหตุผลหนึ่งจากการที่ทรงรับเป็น “พระเจ้าแผ่นดินตามพระธรรมนูญ” ด้วยข้อความว่า “ถ้าข้าพเจ้าไม่ยอมรับเป็นตัวเชิด นานาประเทศคงไม่ยอมรับรองรัฐบาลใหม่นี้ ซึ่งจะเป็นความลำบากยิ่งขึ้นหลายประการ” นอกจากนี้ยังมี ประการที่สี่ คือเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์สยามได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศเชคโกสโลวาเกียและประเทศฮังการี ดินแดนลึกเข้าไปทางตอนกลางของทวีปยุโรป ซึ่งในเวลานั้นกำลังมีความเปราะบางว่าจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตรัสเซีย ซึ่งหลังการปฎิวัติรัสเซียเมื่อ ค.ศ. 1917 กำลังเผยแพร่ความคิดสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์เข้าไปในอาณาบริเวณนั้น ทั้งนี้ การเสด็จพระราชดำเนินฯ เป็นในช่วงเวลา 16 ปี หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สงบลง และ 5 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะอุบัติขึ้น ทรงพินิจโลกที่กำลังแปรเปลี่ยน ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้การเสด็จฯประพาสประเทศต่างๆในยุโรป เป็นโอกาสที่จะได้ทรงศึกษาด้วยพระองค์เองถึงระบอบการปกครองและแนวความคิดทางการเมืองซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างประเทศเหล่านั้น โดยการมีพระราชปฏิสันถารกับบุคคลในบทบาทหน้าที่ต่างๆ และการทอดพระเนตรกิจการทั้งที่เกี่ยวเนื่องแก่การบริหารการปกครองโดยตรง รวมทั้งที่เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ที่อาจพึงมีต่อสยาม ข้อมูลเหล่านี้ที่มีใน จดหมายเหตุฯ พอจะเป็นเครื่องยืนยันได้ไม่น้อย ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินทางเรือจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 ถึง เมืองมาร์เซยย์ (Marseilles) เมืองท่าของประเทศฝรั่งเศสบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เกือบหนึ่งเดือนนับแต่เสด็จฯจากสยาม จากนั้นเสด็จฯทางบก ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถและทรงรักษาพระองค์อยู่ในตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสอยู่ประมาณหนึ่งเดือน
จึงเสด็จฯต่อไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของพระราชกิจที่เป็นทางการ
ดังนั้น การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นจึงมีนัยสำคัญกว่าที่เราในปัจจุบันตระหนัก เพราะเป็นการ ที่องค์พระประมุขของสยามประเทศ ซึ่งมีความเสมอภาคกับประเทศต่างๆที่เสด็จฯประพาส ได้ทรงสานต่อพระราชไมตรีซึ่ง “สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน”อย่างน้อย 3 พระองค์ได้ทรงดำเนินมา อีกทั้งเป็นการทรงสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในประเทศเหล่านั้นว่า แม้สยามจะได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแล้วก็ตาม ไมตรีจิตที่มีต่อกันมาแต่เดิมนั้น จะยังคงมีต่อไป โดยพระองค์เอง องค์พระประมุขของชาติ ทรงเป็นสัญลักษณ์ของความต่อเนื่องดังกล่าว พระราชภารกิจเพื่อชาติประการนี้ เป็นสิ่งซึ่งได้ทรงแสดงให้เห็นว่าทรงตระหนักเป็นอย่างดี ก่อนหน้าแล้ว ในพระราชหัตถเลขาตอบคณะราษฎรลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2475 ซึ่งทรงมีจาก สวนไกลกังวล หัวหิน ว่าเป็นเหตุผลหนึ่งจากการที่ทรงรับเป็น “พระเจ้าแผ่นดินตามพระธรรมนูญ” ด้วยข้อความว่า “ถ้าข้าพเจ้าไม่ยอมรับเป็นตัวเชิด นานาประเทศคงไม่ยอมรับรองรัฐบาลใหม่นี้ ซึ่งจะเป็นความลำบากยิ่งขึ้นหลายประการ” นอกจากนี้ยังมี ประการที่สี่ คือเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์สยามได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศเชคโกสโลวาเกียและประเทศฮังการี ดินแดนลึกเข้าไปทางตอนกลางของทวีปยุโรป ซึ่งในเวลานั้นกำลังมีความเปราะบางว่าจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตรัสเซีย ซึ่งหลังการปฎิวัติรัสเซียเมื่อ ค.ศ. 1917 กำลังเผยแพร่ความคิดสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์เข้าไปในอาณาบริเวณนั้น ทั้งนี้ การเสด็จพระราชดำเนินฯ เป็นในช่วงเวลา 16 ปี หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สงบลง และ 5 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะอุบัติขึ้น ทรงพินิจโลกที่กำลังแปรเปลี่ยน ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้การเสด็จฯประพาสประเทศต่างๆในยุโรป เป็นโอกาสที่จะได้ทรงศึกษาด้วยพระองค์เองถึงระบอบการปกครองและแนวความคิดทางการเมืองซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างประเทศเหล่านั้น โดยการมีพระราชปฏิสันถารกับบุคคลในบทบาทหน้าที่ต่างๆ และการทอดพระเนตรกิจการทั้งที่เกี่ยวเนื่องแก่การบริหารการปกครองโดยตรง รวมทั้งที่เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ที่อาจพึงมีต่อสยาม ข้อมูลเหล่านี้ที่มีใน จดหมายเหตุฯ พอจะเป็นเครื่องยืนยันได้ไม่น้อย ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินทางเรือจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 ถึง เมืองมาร์เซยย์ (Marseilles) เมืองท่าของประเทศฝรั่งเศสบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เกือบหนึ่งเดือนนับแต่เสด็จฯจากสยาม จากนั้นเสด็จฯทางบก ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถและทรงรักษาพระองค์อยู่ในตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสอยู่ประมาณหนึ่งเดือน
จึงเสด็จฯต่อไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของพระราชกิจที่เป็นทางการ
ต่อมาเสด็จฯไปยังกรุงปารีส เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส แล้วเสด็จฯไปยังประเทศอังกฤษในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2477 ประทับอยู่ที่นั่น ประมาณ 2 เดือน โดยได้ทรงเข้ารับการผ่าตัดพระทนต์และพระเนตรดังที่ได้นำเสนอไว้ก่อนหน้านี้แล้ว อีกทั้งทรงเสาะแสวงหาสถานที่ไว้ทรงเช่าเป็นที่ประทับในภายหลัง ซึ่งก็คือบ้านโนล จึงอาจสรุปได้ว่ามิได้ทรงเตรียมการที่จะประทับอยู่ที่นั่นนานก่อนหน้าจุดนี้ จากนั้นจึงได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสช่วงที่สอง ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยได้เสด็จฯไปยังอีก 6 ประเทศ คือ เดนมาร์ค เยอรมัน เบลเยียม เชโกสโลวาเกีย ฮังการี และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นเวลาอีกประมาณ2 เดือน รวมทั้งสิ้น 9 ประเทศ พระราชกิจระหว่างการเสด็จพระราชดำเนิน 8 ประเทศ(ยกเว้น ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) มี 3 ลักษณะผสมกันคือ หนึ่ง ที่เป็นทางการ(ประกอบด้วยการรับเสด็จฯอย่างเป็นพิธีการ การมี พระราชปฎิสันถารกับพระประมุขหรือประมุขรวมทั้งอดีตพระมหากษัตริย์ หัวหน้ารัฐบาล ตลอดจนผู้มีตำแหน่งสำคัญๆของประเทศต่างๆนั้น ) สอง ที่ไม่เป็นทางการ (คือการทอดพระเนตรกิจการต่างๆของรัฐบาลและเอกชน ประกอบด้วยโรงงานอุตสาหกรรมและกิจการการเกษตรต่างๆ ซึ่งรัฐบาลของประเทศเหล่านั้นจัดถวายหรืออำนวยความสะดวกสนองพระราชประสงค์)และสาม ที่เป็นส่วนพระองค์(เช่น มีพระราชปฎิสันถารกับนักคิด นักเขียนและเสด็จฯ เยี่ยมสถานศึกษาและกรมทหารที่ประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษซึ่งเกี่ยวข้องกับพระราชประวัติ รวมทั้งพระราชทานโอกาสให้พระประยูรญาติที่ประทับอยู่ในทวีปยุโรปได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท) รายละเอียดมีให้เล่าสู่กันฟัง(อ่าน) อีกมาก และน่าสนใจไม่น้อยเพราะในบรรดาบุคคลที่ได้มีพระปฎิสันถารด้วยนั้น มีทั้งมุสโสลินีของอิตาลี ฮิตเลอร์ของเยอรมัน แรมเซย์ แมคดอนัลด์ นายกรัฐมนตรีพรรคแรงงานคนแรกของอังกฤษ และบุคคลอื่นๆอีกหลากหลาย ทั้งนี้เดิมทีมีกำหนดการว่าจะเสด็จประพาสกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียด้วย หากต้องทรงงดเพราะนายกรัฐมนตรีประเทศนั้น “ถูกเหล่าร้าย ซึ่งเป็นศัตรูในการเมือง กรูกันเข้าไปฆ่าตายในที่ทำการอย่างน่าอนาถใจ... เฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ทรงสลดพระราชหฤทัยมาก เพราะได้ทรงพบกันที่กรุงโรมเมื่อเร็วๆนี้” จดหมายเหตุฯ ว่าไว้เช่นนี้ แสดงว่าขณะนั้นสถานการณ์ในบางประเทศไม่ดีเลย ส่วนการเสด็จฯประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น จดหมายเหตุฯ บันทึกไว้ว่าเป็นไปเพื่อ “ทรงพักผ่อนพระราชอิริยาบถอย่างเงียบ” คือเป็นการส่วนพระองค์โดยแท้ รวมเวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปทั้งสิ้นประมาณเจ็ดเดือนครึ่ง จดหมายเหตุฯ ตอนสุดท้ายนี้ นายพันตรีหม่อมเจ้าประสบศรี จิรประวัติ ราชองครักษ์ประจำพระองค์ ผู้ทรงเป็นผู้หนึ่งในไม่กี่ท่านที่อยู่ในกระบวนเสด็จฯ ที่สวิตเซอร์แลนด์ ทรงเป็นผู้บันทึกโดยมีข้อมูลในย่อหน้าสุดท้ายว่า วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2477(ซึ่งบังเอิญเป็นวันคล้ายวันอภิเษกสมรส) เวลา 22.45 น. “เสด็จพระราชดำเนินประทับรถไฟ ออกจากเมืองเยเนวา (Geneva) ถึงกรุงปารีสวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2477 เวลา 9 นาฬิกา 10นาที” ประทับที่ปารีสนานเท่าใด? จดหมายเหตุฯ จึงไม่ช่วยให้เราทราบว่าทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ที่กรุงปารีสเป็นเวลานานเท่าใด ก่อนที่จะได้เสด็จฯข้ามไปยังประเทศอังกฤษอีกครั้ง แต่ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2477 พระยาวิชิตวงศ์ วุฒิไกร(ม.ร.ว.สิทธิ สุทัศน์) ราชเลขานุการในกระบวนเสด็จฯ และผู้จัดทำร่างแรกของจดหมายเหตุฯ เป็นส่วนใหญ่ ได้มีจดหมายจากปารีสทูลราชเลขานุการในพระองค์ (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ ทิพอาภา) ขอให้ทรงพระกรุณาคัดจดหมายเหตุ ฯ (ซึ่งกรมราชเลขานุการในพระองค์ “ เก็บข้อความที่เป็นแก่นสารในรายงาน” เรียบเรียงขึ้นใหม่ตามการทรงแก้ไขและพระบัญชาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ องค์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ไปประทาน ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่า ในวันดังกล่าวทั้งสองพระองค์ยังประทับอยู่ที่ปารีส เรื่องวันที่นี้สำคัญ อย่างไร ผมขอเก็บไว้ไขความต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น