คราวที่แล้วได้กล่าวถึงว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระราชดำริเรื่องการสละราชสมบัติไว้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเมื่อมีผู้ทัดทาน ได้ทรงแบ่งรับแบ่งสู้ โดยรับสั่งว่า ขึ้นอยู่กับว่าอาการของพระเนตรจะเป็นอย่างไร และว่าคณะราษฎรจะทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในพระองค์(อีก)หรือไม่ คราวนี้เรามาดูกันว่าต้องทรงคิดคำนึงถึงเรื่องนี้อีกเมื่อใดบ้าง โดยผมขอแบ่งเป็น 3 กาลด้วยกันโดยเรียกว่า เหตุการณ์สมมติ ก่อนเกิดเหตุการณ์สมมติ และหลังเกิดเหตุการณ์สมมติ ตามลำดับ [1] ซึ่งจะนำเรากลับไปที่การเสด็จฯประพาสยุโรป เหตุการณ์สมมติ ในช่วงที่มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “ถาวร” คณะอนุกรรมการร่างฯของสภาผู้แทนราษฎรดำริจะกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่พิ...
ศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเพื่อสืบทราบพระคติและพระปัญญา พระอุปนิสัยเพื่อเป็นแก่นแกนในการศึกษาเรื่องราวด้านต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาการทางการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยไทย ( บทความและภาพที่เผยแพร่นี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติและเพื่อเป็นวิทยาทานเท่านั้น ไม่มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้ใดใด หากนำไปใช้กรุณาอ้างอิงที่มาด้วย จักขอบคุณมาก)