ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทย (พ.ศ. ๒๔๖๕-๒๔๗๕)

ชื่อวิจัย  ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทย (พ.ศ. ๒๔๖๕-๒๔๗๕)
ผู้วิจัย    นางฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร

นักวิชาการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  ประการแรก  เพื่อศึกษาภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๕  ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ ต่อเนื่องกับรัชกาลที่ ๗ จนเกิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕  อันเป็นยุคแรกๆที่มีการตีพิมพ์ภาพล้อและการ์ตูนการเมือง รวมถึงบทความวิจารณ์การเมืองในหนังสือพิมพ์ไทย  ประการที่สอง ต้องการอธิบายแนวคิดและวิธีการสื่อสารทางการเมืองของนักเขียนภาพล้อและการ์ตูนการเมือง ประการที่สาม  เพื่อสะท้อนปัญหาทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความขัดแย้งทางความคิดระหว่างผู้ปกครองกับปัญญาชน ผ่านภาพล้อและการ์ตูนการเมืองโดยเน้นกรณีศึกษาหนังสือพิมพ์บางกอกการเมืองและสยามรีวิวรายสัปดาห์
และนำข้อมูลและภาพล้อการ์ตูนจากหนังสือพิมพ์ร่วมสมัยอื่นๆได้แก่  หนังสือพิมพ์ กัมมันโต เกราะเหล็ก ไทยหนุ่ม ผดุงราษฎร์ ธงไทย และสตรีไทยเป็นองค์ประกอบเสริม
วิธีการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่๗ และใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ในการอ่านภาพและ อธิบายวิเคราะห์ภาพล้อบุคคลและภาพการ์ตูนที่อธิบายเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจสังคม และสภาพความเป็นอยู่ในสังคมก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕
ผลการวิจัยพบว่า  ในช่วง ๑๐ ปีก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อย่างหลากหลากและต่อเนื่อง  ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองดังกล่าวเป็นตัวแทนของการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนในลักษณะการยกประเด็นและจุดประกายการถกเถียงทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม  วิพากษ์วิจารณ์ผู้ปกครอง  เปิดโปงการทุจริตของขุนนาง ข้าราชการ และ เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างชัดเจนและรุนแรงจนเป็นที่มาของการตราพระราชบัญญัติควบคุมหนังสือพิมพ์พ.ศ. ๒๔๖๕ และพ.ศ. ๒๔๗๐ ตลอดจนเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. ๒๔๗๕
Research Title :Caricatures and political Cartoons  in Siam(1922-1932)
Researcher   : Chatbongkoch  Sriwattanasarn
Abstract
Objectives of this research are composed with 3 important purposes.  Firstly, aiming at to studycariatures and political cartoons in Siam during the lately period of King  Vajirawadh  to the reign of King Prajadhipok  until  before the Absolute Monarchy Revolution in 1932,    the period that  caricatures and political cartoons were initially  published  through  varies newspaper. Secondly,trying to describe  ideas and methods  in  political communication  of  the  artist and cartoonists. Thirdly,  requiring the ways  to effect   the problems of socio-economy and cultural politic conflicts  of Siam between the rulers and elites   during the mentioning period  through the contemporary  caricatures  and  political cartoons, especially,  in theBangkok KarnMaung and Siam Review Newspapers  as 2 major case studies of,  with the usages of Kamanto, KroLek. Thai Noom, SayamRasdonThong Thai and Satri Thai Newspaper as the minor plus.
Result  of the research   reveals the emergences of  caricatures and political cartoons publicized continuously and satirically  in the newspapers,  a decade before the   Revolution in1932.  They claimed themselves as  therepresentatives  of  the public’s opinions  in discussion of the   politic, economic and  society  problems, including, criticizing the rulers, reviewing the corrupt behaviors  of the officials and calling for political change. They affected the rulers to  produce the laws to control the progressive journalists  and,  perhaps, might  be  an important   part  of  the Revolution  in 1932.
ภาพการ์ตูนล้อ
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือ ทูลกระหม่อมบริพัตร ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหาร ตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และเสนาธิการทหารบก เขียน โดยนายเปล่ง ไตรปิ่น จากนสพ.สยามรีวิว พ.ศ. 2470

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...