“การเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ”
ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร*
เมื่อวันพุธที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรในรายการมุ่งสู่ประชาธิปไตยไปกับสถาบันพระปกเกล้า ทางคลื่น ๘๗.๕ เรื่องความเป็นมาของวันพระราชทานรัฐธรรมนูญของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ ๘๓ ปีมาแล้วใน วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปณิธานเพื่อให้ประเทศสยามมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและมีหลักฐานอย่างเด่นชัด พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะให้มีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ นับตั้งแต่หนึ่งปีหลังจากการขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระยากัลยาณไมตรี หรือ ดร.ฟรานซีส บี แซร์ ( Francis Bowes Sayre ) อดีตที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ ทรงใช้หัวเรื่องว่า “ Problem of Siam” เนื้อหาเป็นพระราชปุจฉา (คำถาม ๙ ข้อ ) นอกจากตอบพระราชปุจฉาแล้ว พระยากัลยาณไมตรีได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายร่างเค้าโครงฉบับสั้นๆ แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆกับร่างฉบับนี้
ต่อมาทรงตั้งพระทัยที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในวาระที่มีงานพระราชพิธีฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี ในปีพ.ศ. ๒๔๗๕ การเตรียมการนี้เป็นไปอย่างเปิดเผย ดังเห็นได้จากเหตุการณ์ในปีพ.ศ. ๒๔๗๔ ขณะพระองค์เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มีใจความสรุปได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวพระราชปฏิบัติในการปกครองคือการปรับแนวความคิดมาใช้ให้เหมาะกับประเทศสยามที่มีการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรด้วยความเอื้ออาทรจากพระเจ้าแผ่นดิน ทรงมีพระราชดำรัสตอบคำถามนักหนังสือพิมพ์อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วและทรงชื่นชมวิธีดำเนินการของหนังสือพิมพ์อเมริกัน พระองค์ทรงวางแผนที่จะประชาชนมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นก่อน หนังสือพิมพ์อเมริกันฉบับหนึ่งได้เขียนภาพการ์ตูนล้อเป็นภาพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ ประทับเหนือพระราชอาสน์กำลังพระราชทานม้วนกระดาษ ซึ่งหมายถึงรัฐธรรมนูญให้แก่ราษฎรไทยคนหนึ่งแต่งกายไม่สวมเสื้อ นุ่งห่มเฉพาะท่อนล่าง
เมื่อเสด็จกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ ผู้สำเร็จเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ และนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ผู้สำเร็จวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนรัฐนิวแฮมเชียร์ สังกัดพรรคเดโมแครต รองประธานคณะกรรมการเดินเรือแห่งสหรัฐ และเป็นผู้แทนอเมริกันในสภาการขนส่งทางทะเลของฝ่ายสัมพันธมิตรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทั้งสองท่านนี้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและมีพระบรมราชโองการให้เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งสองท่านดำเนินการร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญเสร็จในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ เป็นภาษาอังกฤษ ชื่อว่า “An Outline of Changes in the Form of Government” ร่างดังกล่าวได้กำหนดรูปแบบของการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ตลอดจนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ด้วย พร้อมกันนี้พระยาศรีวิสารวาจาและนายเรมอนด์ บี.สตีเวนส์ ให้แก่อภิรัฐมนตรี ในวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ เพื่อประชุมพิจารณาในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการประชุมพิจารณากันอย่างไรเข้าใจว่าหากมีการประชุมจะได้รับการคัดค้าน จึงไม่มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญในพระราชพิธีฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปีในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕
ต่อมาอีกสองเดือนเศษในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง และมีการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ในปีเดียวกัน
ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร*
เมื่อวันพุธที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรในรายการมุ่งสู่ประชาธิปไตยไปกับสถาบันพระปกเกล้า ทางคลื่น ๘๗.๕ เรื่องความเป็นมาของวันพระราชทานรัฐธรรมนูญของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ ๘๓ ปีมาแล้วใน วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปณิธานเพื่อให้ประเทศสยามมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและมีหลักฐานอย่างเด่นชัด พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะให้มีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ นับตั้งแต่หนึ่งปีหลังจากการขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระยากัลยาณไมตรี หรือ ดร.ฟรานซีส บี แซร์ ( Francis Bowes Sayre ) อดีตที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ ทรงใช้หัวเรื่องว่า “ Problem of Siam” เนื้อหาเป็นพระราชปุจฉา (คำถาม ๙ ข้อ ) นอกจากตอบพระราชปุจฉาแล้ว พระยากัลยาณไมตรีได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายร่างเค้าโครงฉบับสั้นๆ แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆกับร่างฉบับนี้
ต่อมาทรงตั้งพระทัยที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในวาระที่มีงานพระราชพิธีฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี ในปีพ.ศ. ๒๔๗๕ การเตรียมการนี้เป็นไปอย่างเปิดเผย ดังเห็นได้จากเหตุการณ์ในปีพ.ศ. ๒๔๗๔ ขณะพระองค์เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มีใจความสรุปได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวพระราชปฏิบัติในการปกครองคือการปรับแนวความคิดมาใช้ให้เหมาะกับประเทศสยามที่มีการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรด้วยความเอื้ออาทรจากพระเจ้าแผ่นดิน ทรงมีพระราชดำรัสตอบคำถามนักหนังสือพิมพ์อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วและทรงชื่นชมวิธีดำเนินการของหนังสือพิมพ์อเมริกัน พระองค์ทรงวางแผนที่จะประชาชนมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นก่อน หนังสือพิมพ์อเมริกันฉบับหนึ่งได้เขียนภาพการ์ตูนล้อเป็นภาพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ ประทับเหนือพระราชอาสน์กำลังพระราชทานม้วนกระดาษ ซึ่งหมายถึงรัฐธรรมนูญให้แก่ราษฎรไทยคนหนึ่งแต่งกายไม่สวมเสื้อ นุ่งห่มเฉพาะท่อนล่าง
เมื่อเสด็จกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ ผู้สำเร็จเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ และนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ผู้สำเร็จวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนรัฐนิวแฮมเชียร์ สังกัดพรรคเดโมแครต รองประธานคณะกรรมการเดินเรือแห่งสหรัฐ และเป็นผู้แทนอเมริกันในสภาการขนส่งทางทะเลของฝ่ายสัมพันธมิตรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทั้งสองท่านนี้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและมีพระบรมราชโองการให้เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งสองท่านดำเนินการร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญเสร็จในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ เป็นภาษาอังกฤษ ชื่อว่า “An Outline of Changes in the Form of Government” ร่างดังกล่าวได้กำหนดรูปแบบของการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ตลอดจนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ด้วย พร้อมกันนี้พระยาศรีวิสารวาจาและนายเรมอนด์ บี.สตีเวนส์ ให้แก่อภิรัฐมนตรี ในวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ เพื่อประชุมพิจารณาในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการประชุมพิจารณากันอย่างไรเข้าใจว่าหากมีการประชุมจะได้รับการคัดค้าน จึงไม่มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญในพระราชพิธีฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปีในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕
ต่อมาอีกสองเดือนเศษในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง และมีการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ในปีเดียวกัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น