ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

9 กันยายน 2475 : นักเรียนอัสสัมฯเซนต์ฯระดมพลเรียกร้อง

ขอบคุณบทความจากรศ.ม.ร.ว. พฤทธิสาณ  ชุมพล

        สองเดือนกว่าหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475  นักเรียนไทยในโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนเซนต์คาเบรียลของคณะมิชชันารีฝรั่งเศสก่อการยื่นข้อเรียกร้องต่อทางโรงเรียน
        นี่เป็นข้อมูลที่อยู่ในเอกสารภาษาฝรั่งเศสซึ่ง ผศ.ดร.ประหยัด นิชลานนท์ และอ.ดร.รัชฎาพร ฤทธิจันทร์ แห่งภาควิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยศิลปากร  นำเสนอไว้ในหนังสือ คันฉ่องฝรั่งเศสส่องสังคมสยามสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี เพิ่งจัดพิมพ์จำหน่าย โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารที่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จัดหามาก่อนหน้านี้
       "ณ  โรงเรียนอัสสัมชัญ ขณะที่ระฆังเรียกให้เข้าชั้นเรียนดังขึ้น  นักเรียนโตจากชั้นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่งประกาศระดมพลนักเรียนฝ่ายมัธยมให้มารวมกันที่บริเวณห้องโถงใหญ่ของโรงเรียน  นักเรียนที่มีนามสกุล ณ สามเสน คนหนึ่งซึ่งเป็นลูกของวุฒิสมาชิกของสยามได้มาเชิญผู้อำนวยการโรงเรียน บราเดอร์เฟรเดอริคให้มาที่ห้องโถงเพื่อรับฟังข้อเรียกร้องของนักเรียนสามข้อ ดังนี้
        1. ลดราคาค่าเล่าเรียน
        2. งดการเรียนการสอนในวันสำคัญทางศาสนาของศาสนาพุทธ
        3. อนุญาตให้นักเรียนที่โดนคัดชื่อออกเนื่องจากทำผิดวินัย  สามารถกลับเข้ามาเรียนใหม่ได้
        เมื่อได้รับคำตอบอันเป็นที่พอใจแล้ว  นักเรียนเหล่านี้ก็เช่ารถบัสขนาดเล็กเพื่อมุ่งไปยังโรงเรียนเซนต์คาเบรียล  เพื่อเรียกร้องในหัวข้อเดียวกันนี้  พวกเราต้องเผชิญกับเหตุการณ์ปฏิวัติย่อยๆที่ได้มีการเตรียมการมาเป็นอย่างดี "  (ตัวสะกดตามต้นฉบับ)
        เอกสารของมิชชันนารีฝรั่งเศสเขียนเล่าไว้เช่นนี้  และวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะโรงเรียนของเขาสอนให้นักเรียนรู้จักกล้าคิด  กล้าทำ กล้าแสดงออก เรียกร้องในสิทธิของตน  จนบางครั้งดูรุนแรงก้าวร้าว  ต่างจากการเรียนการสอนในโรงเรียนที่จัดตั้งโดยรัฐบาลสยาม ที่สอนให้เด็กมีความประพฤติเรียบร้อย  เคารพครูไม่เถียงหรือต่อต้าน
         ซึ่งก็อาจเป็นการวิเคราะห์ที่เข้าข้างตัวเองของฝรั่งอยู่ตรงที่  ประการแรก  พฤติกรรมของนักเรียนในคราวนั้น  แม้ว่าจะแสดงถึงความกล้าที่จะเรียกร้อง  แต่ก็กระทำด้วยความมีระเบียบแบบแผน  และดูจะไม่ได้ก้าวร้าว ทำให้มองต่างมุมได้ว่า  มีการผสมผสานวิถีตะวันตกกับวิถีไทยอยู่ในที  และประการที่สอง "เหตุการณ์การปฏิวัติย่อยๆที่มีการเตรียมการมาอย่างดี" นั้นอาจไม่ได้เป็นความริเริ่มของตัวนักเรียนเอง  แต่เป็นของบิดาของผู้แทนนักเรียนนามสกุล ณ สามเสน ผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทแต่งตั้งของคณะราษฎรก็เป็นได้  กล่าวคือ เป็นการ "จัดฉาก" ความตื่นตัวในประชาธิปไตยในหมู่นักเรียน ซึ่งก็เป็นวิถีไทยๆ กึ่งๆฝรั่งอีกอย่างหนึ่ง






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั