ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ใต้ฟ้าประชาธิปก : ทรงสานต่อการสนทนาธรรมระหว่างศาสนา

                                                           
                   คัมภีร์อักษรขอม ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ถวายเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปขณะเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสันตะปาปา
ปิอุสที่ 11 เมื่อวันพุธที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1934 หรือปี พ.ศ.2477 หรือเมื่อ 82 ปีก่อน


                                                                                 
                                                                                                                  รศ.ม.ร.ว.พฤทธิสาณ  ชุมพล
          ข่าว (มติชน 24 สิงหาคม2559) ที่กล่าวถึงว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงดำริจะเปิดแสดงคัมภีร์โบราณต่างๆรวมทั้งคัมภีร์พระพุทธศาสนาอักษรขอมซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11  เมื่อวันที่21 มีนาคม ค.ศ.1934  (พ.ศ.2476 ตามปฎิทินเดิม)  ชวนให้ไทยเราเองต้องสืบ และค้นหาข้อเท็จจริงจากหลักฐานของไทยเราเอง  เพราะในจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนั้นไม่ได้รายงานถึงการทรงถวายคัมภีร์แต่อย่างใด  ทั้งนี้นอกเหนือจากที่ทางวัดพระเชตุพนฯจะช่วยประสานงานแปลให้ทางวาติกัน
        หากแต่การที่ทรงทำเช่นนั้นมีความน่าสนใจตรงที่เป็นการทรงสานต่อการสนทนาธรรมระหว่างศาสนา (Ecumenism) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4 เคยทรงทำเป็นกิจลักษณะในรัชกาลของพระองค์กับบาทหลวงในคริสตศาสนา
          คำว่า “Ecumenism”  นี้ไม่ปรากฏในพจนานุกรมอังกฤษ-ไทยของ สอ เสถบุตร แต่อย่างใด  แสดงว่าแม้ในช่วงหลังรัชกาลที่ 7ใหม่ๆ แนวคิดหรือขบวนการนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนักในหมู่ชนชั้นนำไทย  ดังนั้นการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงประกอบพระราชกรณียกิจดังกล่าวจึงนับได้ว่า “ก้าวหน้า”  คล้ายทรง “มองอดีต เล็งอนาคต”  
          “Ecumenism” หรือEcumenicalisim หมายถึง “ขบวนการหรือแนวคิดที่มุ่งเสริมความสามัคคีระหว่างศาสนาต่างๆด้วยการสร้างความร่วมมือและความเข้าใจกันยิ่งขึ้นไปทั่วโลก” Reader’s Digest Universal Dictionary มีนักวิชาการศึกษาไว้อย่างละเอียดกล่าวไว้ในหนังสือที่แสดงปกไว้นี้
การเคลื่อนไหวในแนวนี้ยังมีความสำคัญในยุคปัจจุบันนี้ที่ดูจะมีความขัดแย้งระหว่างผู้ที่ (อ้างว่า) นับถือศาสนาและนิกายต่างๆมากขึ้น  จนบางครั้งกลายเป็นความรุนแรง  เหตุดังนี้กระมังที่สมเด็จพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันจึงมีพระอุบายที่จะใช้การจัดแสดงคัมภีร์ศาสนาต่างๆที่สำนักวาติกันครอบครองอยู่ให้ชาวโลกได้เห็นถึงความสำคัญของการสนทนาธรรมระหว่างศาสนาเพื่อทำนุบำรุงสันติภาพในโลก
                                                                                   ( พฤทธิสาณ/การสนทนาธรรม/ส.ค.2559)



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...