ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ส.ส.อังกฤษ พระสหายสนิทพระปกเกล้าฯ

ขอบคุณบทความจากรองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ  ชุมพล

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเยือนประเทศต่างๆในทวีปยุโรปเมื่อพ.ศ. 2476-2477  ในพระราชสถานะพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญนั้น  ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2477  ซึ่งเป็นวันถัดไปจากวันที่เสด็จฯถึงกรุงลอนดอน  ได้เสด็จฯไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้ายอร์ชที่ 5  และพระนางแมรี่ ณ พระราชวังวินด์เซอร์ นอกกรุงลอนดอน  ที่ซึ่งได้ทรงพบกับเจ้าหญิงอลิซเบธ พระธิดา  ซึ่งปัจจุบันคือ  สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ด้วย  เย็นวันเดียวกันนั้น มีสุภาพบุรุษอังกฤษผู้หนึ่งเข้าเฝ้ารับพระราชทานเลี้ยงน้ำชา ณ โรงแรมแคลรร์ดเจสที่ประทับ  ร้อยเอกวิกเตอร์ คาซาเลต (Captain Victor Cazalet ) เป็นพระสหายตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ที่วิทยาลัยอีตัน  และน่าจะที่โรงเรียนนายร้อยวุลลิชด้วย เพราะมียศเป็นนายทหาร (นอกราชการ)  บัดนั้น เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษ ค่ำวันนั้นเขาเชิญเสด็จฯไปทรงฟังสังคีตดนตรี  ร้อยเอกคาซาเลตผู้นี้ปรากฏตัวในกระบวนเสด็จฯในลอนดอนหลายครั้ง  และน่าจะมีบทบาทสำคัญในการประสานงานติดต่อให้ได้มีพระราชปฏิสันถารกับบุคคลสำคัญต่างๆของประเทศอังกฤษ  การนี้ไม่น่าจะเป็นโดยบังเอิญด้วยไม่นานก่อนที่จะเสด็จฯออกไปยังยุโรป  เขาได้เข้ามายังสยามและปรากฏตนเล่นกีฬาสควอชแรกเก็ตหน้าพระที่นั่ง ณ ราชกรีฑาสโมสร
        เมื่อเสด็จฯไปเสวยพระกระยาหารกลางวันกับนายเจมส์ แรมเซย์ แมคดอนัลด์  นายกรัฐมนตรีอังกฤษคนแรกจากพรรคแรงงาน ที่ทำเนียบเลขที่ 10 ถนนดาวนิ่ง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ร้อยเอกคาซาเลตได้โดยเสด็จฯด้วย  และในค่ำวันที่ 7 พฤษภาคม เขาได้เชิญรัฐมนตรี สมาชิกของทั้งสภาผู้แทนราษฎรและสภาขุนนาง อดีตนักการทูต นายธนาคาร และเซอร์ จอห์น รีธ (Lord Reith ในเวลาต่อมา) ผู้อำนวยการสถานีวิทยุ บี.บี.ซี. ไปร่วมโ๖๊ะเสวยที่บ้านของเขา
        วันรุ่งขึ้นที่ 8 พฤษภาคม เมื่อเสด็จฯไปทอดพระเนตรภายในอาคารรัฐสภา ทั้งห้องประชุมสภาขุนนางและห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร  เขาก็ได้ร่วมอยู่ในกระบวนเสด็จฯ ณ ที่นั่น ได้เสวยพระกระยาหารกลางวันร่วมกับสมาชิกทั้งสองสภาจำนวนหนึ่ง  หนังสือพิมพ์ลงว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทรงราชสมบัติพระองค์แรกที่เสด็จฯมาเสวยที่รัฐสภา
        วันที่ 13 มิถุนายน  เขาได้โดยเสด็จฯไปยังวิทยาลัยอีตันโรงเรียนเก่า และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เขาได้แสดงฝีมือการเล่นสคอวชแข่งขันกับนายอเมต บาร์ ชาวอียิปต์ หน้าพระที่นั่ง  กีฬาฯสควอช ซึ่งเป็นกีฬาในร่ม  ใช้แรกเก็ตตีลูกยางสะท้อนกับผนังไปยังคู่แข่งขันนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯโปรดที่จะทรงเอง  และทรงมีคอร์ตทั้งที่วังศุโขทัยและวังไกลกังวล  เคยรับสั่งว่า "เล่นเพียง 20 นาทีก็ได้เหงื่อ"
     



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...