ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหตุที่ไทยให้สิทธินับถือศาสนาโดยเสรีเสมอมา ในหนังสือ Siamese Tapestry


เหตุที่ไทยให้สิทธินับถือศาสนาโดยเสรีเสมอมา
                                                                                                                 รศ. ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล
ฝรั่งอังกฤษคนหนึ่งเข้ามาในสยามเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 6 โดยมาเป็นครูที่โรงเรียนปทุมคงคา  และต่อมาใต้ฟ้า...ประชาธิปกไปเป็นผู้จัดการสยามกัมมาจล (ไทยพาณิชย์) สาขาทุ่งสง เชียงใหม่ และลำปาง  จนกระทั่งพ.ศ. 2479จึงกลับไปอังกฤษ  เพรารัฐบาลสยามมีนโยบายให้คนไทยทำแทน
หนังสือที่เขาเขียนเล่าประสบการณ์ที่หลากหลายของเขาในสยาม (F.K. Exell, Siamese Tapestry, London : Robert Hale Ltd.1963) อ่านสนุก และมีข้อคิดบางอย่างเกี่ยวกับสยามและคนไทยที่น่าสนใจ
ตัวอย่างเช่น  คนไทยกับพุทธศาสนา  เขาตื่นตาตื่นใจมากที่ได้เห็นคนไทยจำนวนมากเข้าวัด  ในขณะที่โบสถ์คริสต์ในอังกฤษมักมีผู้คนโหรงเหรง  คนไทยเข้าวัดไปสวดมนต์เพื่อความสงบในจิตใจ  บางคนไปบนบานศาลกล่าวต่อพระพุทธรูป  แต่ถ้าไม่ได้ดั่งใจ  ชาวพุทธก็ไม่ได้ถือว่าเป็นความผิดของพระพุทธเจ้า  หากเป็นเพราะกรรมเก่า  หรือการกระทำในอดีตของตัวเขาเอง  ข้อนี้ชาวพุทธที่เข้าถึงหลักธรรมรู้ดี
คุณ Exell ตั้งข้อสังเกตต่อไปอย่างน่าสนใจว่า  มิน่าเล่า บรรดามิชชันนารีฝรั่งทั้งหลายจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการชักจูงคนไทยเข้ารีต  ก็ในเมื่อศาสนาพุทธให้ “โอกาสที่สอง” แก่เขาเสมอที่จะแก้ตัว  และค่อยๆฝึกปฏิบัติเพื่อไปสู่นิพพาน  กล่าวคือในศาสนาพุทธไม่มีสวรรค์หรือนรกในบั้นปลาย  ชาวพุทธจึงมีแต่ความหวัง  ไม่มีความจำเป็นที่พระพุทธเจ้าจะต้องฟื้นขึ้นมาจากความตาย  คนไทยที่รู้เรื่องคริสต์ศาสนาจึงเห็นว่าที่ชาวคริสต์อ้างว่าพระเยซูฟื้นขึ้นมานั้นเป็นเพียงตำนานเรื่องปาฎิหารย์  ที่มีไว้เพียงเพื่อชวนให้เห็นว่าศาสนาคริสต์เหนือกว่าศาสนาพุทธ  คนไทยเช่นนั้นเห็นว่าการที่พระพุทธเจ้าสิ้นพระชนม์นั้นเป็นเรื่องธรรมดากว่า  และไม่ได้ทำให้ไม่น่าเชื่อว่านิพพานมีจริง  แม้ว่าภาพที่คนไทยมีเกี่ยวกับนิพพานนั้นจะเลือนๆรางๆพอๆกับภาพที่ฝรั่งเช่นเขาเองมีเกี่ยวกับสวรรค์หรือนรก  คุณ Exell จึงไม่แปลกใจเลยว่า คนไทยไม่ว่าในประวัติศาสตร์ยุคใดสมัยใด  ไม่เคยลิดรอนสิทธิเสรีในการนับถือศาสนาใดก็ตาม  แล้วแต่ใจจะศรัทธา
อ่านแล้ว  ชวนให้คิดคำนึงว่า  จำเป็นหรือควรหรือไม่ที่เราจะสถาปนาพระพุทธศาสนาเป็น “ศาสนาประจำชาติ”

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...