ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ป.ป.ร. และ ภ.ป.ร. กับประชาธิปไตยในสยาม/ไทย

ป.ป.ร. และ ภ.ป.ร กับประชาธิปไตยในสยาม/ไทย
ขอบคุณบทความจาก  ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล



พระนาม "ภูมิพล" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
                   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชมานะพยายามตลอด 9 ปีแห่งรัชกาลที่จะทรงอำนวยและดูแลให้ระบอบประชาธิปไตยมีขึ้นจริงในสยาม โดยทรงเห็นว่า ประชาธิปไตยประเภท Constitutional Monarchy หรือ “ระบบกษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ” น่าจะเหมาะสมที่สุดเพราะสอดคล้องกับวัฒนธรรม จะได้มั่นคงยั่งยืน
ครั้นได้ทรงตรวจสอบจนแน่พระราชหฤทัยแล้วว่าไม่ทรงประสบความสำเร็จ อีกทั้งบัดนั้นไม่ทรงมีอำนาจแล้วจึงไม่อาจทรงปกป้องคุ้มครองปวงประชาได้ตามที่ทรงสัญญาไว้เมื่อทรงบรมราชาภิเษกเป็นพระราชาสมบูรณาญาสิทธิ์พระองค์จึงทรงแสดงความรับผิดชอบโดยการสละราชสมบัติมาจากประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477
ในวาระนั้น ได้รับสั่งอย่างไม่เป็นทางการแก่ผู้ใกล้ชิดว่า “ความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับรัฐบาลเป็นอันตรายขัดขวางความก้าวหน้าของประเทศ ถ้าได้พระมหากษัตริย์ที่ราษฎรให้ความนับถืออย่างจริงใจ ความขัดแย้งอาจจะหมดไป ดังนั้นหากเขาเลือกสายของพี่แดง สถานการณ์อาจจะดีขึ้น เพราะพี่แดงเป็นนักประชาธิปไตยแท้ ประทานความเอื้อเฟื้อสนิทสนมเป็นกันเองกับข้าราชการและประชาชนทั่วไปอย่างไม่ถือพระองค์ ทรงเสียสละเพื่อความสุขของประชาชนทั่วไปมามาก เป็นที่รักใคร่ของชนแทบทุกชั้น ความรักนับถือพี่แดงอาจจูงใจให้รักเชื้อสายของพี่แดงด้วย จะได้เป็นผลดีแก่บ้านเมือง”
เท่ากับว่าทรงหวังว่าการสละราชสมบัตินั้น อย่างน้อยจะอำนวยให้สถาบันพระมหากษัตริย์คงอยู่คู่สยาม และพระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองราชย์สมบัติต่อๆมาจะได้ทรงสานต่อพระราชปณิธาน
“พี่แดง” ก็คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกในรัชกาลที่ 8 และที่ 9 นั่นเอง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงรับราชสมบัติใหม่ๆในพ.ศ. 2489 พระสหายชาวอเมริกันของสมเด็จพระมหิตลาฯได้มีหนังสือกราบบังคมทูลแนะนำพระองค์ให้ “ทรงดำเนินตามรอยพระวิถีแห่งทูลกระหม่อมพ่อ คือการอุทิศพระองค์อย่างไม่ทรงเห็นแก่พระองค์เอง เพื่อประเทศและประชาชนของพระองค์...หากจะทรงหลีกเลี่ยงความอับปาง เข็มทิศของพระองค์จะต้องเสถียรมั่นอยู่บนคุณความดีแท้ และความซื่อตรงแน่วแน่ในพระราชหฤทัย...”
ทรงตอบเขาไปว่า “ข้าพเจ้าจะพยายามไม่ท้อถอย...และจะพยายามทำสุดความสามารถ
ชาวอเมริกันท่านนั้นคือ พระยากัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานซิส บี.แซร์) อดีตที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลสยาม ผู้ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึง ทรงหารือเกี่ยวกับ “ปัญหาต่างๆของสยาม”เป็นที่มาของ “ร่างรัฐธรรมนูญ” ที่เขาทูลเกล้าถวายในพ.ศ. 2469
เมื่อต้นรัชกาลที่ 9 รัฐบาลในสมัยนั้นไม่ได้แยแสกับพระราชดำริใดๆ พระองค์ได้ทรงไว้ซึ่งพระขันติธรรม ทรงเลี่ยงที่จะขัดแย้งกับรัฐบาล กลับทรงใช้พระอัจฉริยภาพส่วนพระองค์ในอันที่จะทรงครองใจราษฎร์หมู่เหล่าทั้งหลายอย่างค่อยเป็นค่อยไป  มีการดนตรี การวิทยุกระจายเสียง การบรรเทาทุกข์ และการทดลองการชลประทานขนาดย่อม เป็นต้น พระบารมีจึงค่อยๆเพิ่มพูนขึ้น ส่งผลให้หลายปีต่อมา รัฐบาลยอมรับฟังและนำพระราชดำริต่างๆไปสู่การปฏิบัติ จนกลายเป็นที่แซ่ซร้องกันมากในภายหลัง
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถของพระองค์มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ว่า องค์ภูมิพลรับสั่งกับพระองค์ว่า

  เราต้องตอบแทนความรักของประชาชนด้วยการกระทำมากกว่าพูด ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่                           จะบำบัดความทุกข์ของเขา เพราะเขาเป็นหลักพึ่งพาของพระมหากษัตริย์ตลอดมา                                   ประชาชนเป็นมิตรของพระมหากษัตริย์ มิตรนี้ในความหมายที่แท้จริง คือ ผู้ที่เอื้อเฟือ                               อย่างกว้างขวาง และพระมหากษัตริย์ไม่เป็นภัยแก่ประชาชน”

ด้วยพระราชปณิธานเช่นนี้เองที่องค์ภูมิพลได้ทรงสานต่ออย่างสร้างสรรค์พระราชประสงค์จำนง                หมายของทูลกระหม่อมอาประชาธิปกของพระองค์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...