ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียว พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7

                          ใต้ฟ้าประชาธิปก : การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียว พ.ศ. 2476

                                                                                                    นางฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร  เรียบเรียง





ประเทศไทยของเรามีระบอบการปกครองประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข หากจะย้อนศึกษาที่มาที่ไปของการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2476 หลังจากที่เปลี่ยนแปลง การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ประมาณ 1 ปี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
การเลือกตั้งครั้งแรกนั้นน่าสนใจว่า เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งเดียวเกิดขึ้นหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  จุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนที่เป็นคนไทยมีสิทธิมีเสียงในการเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารบ้านเมือง เป็นช่วงที่พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะนั้นประเทศไทยมีเพียง 70 จังหวัด และมีการเลือกตั้งผู้แทนได้จังหวัดละคน ยกเว้น จังหวัดพระนคร อุบลราชธานี มีผู้แทนได้ 3 คน  เชียงใหม่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และนครราชสีมา มีผู้แทนได้ 2 คน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยทางอ้อมนั้นมีผู้ใช้สิทธิร้อยละ 41.5 ได้สมาชิกผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 จำนวน 78 คน เป็นนักกฎหมายถึง 21 คน ข้าราชการประจำ 16 คน  นักธุรกิจ 15 คน ข้าราชการเกษียณหรือลาออกแล้ว 11 คน ทั้งหมดเป็นชายอายุระหว่าง 30-49 ปี  และมีผู้แทนจากการแต่งตั้งอีก 78 คน รวม 156 คน  จัดตั้งเป็นรัฐบาลเมื่อ 86 ปีที่แล้ว
พระราชทัศนะของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนั้นว่า การเลือกตั้งที่ได้มีขึ้นนั้นดูจะสะอาดพอใช้ และทรงดีพระราชหฤทัยว่า ผู้สมัครจากกรุงเทพฯ ส่วนมากไม่ได้รับเลือกตั้งในต่างจังหวัด กลับมีคนท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงได้รับเลือก และมีความตั้งใจจะวางตัวเป็นอิสระ ทรงเห็นว่าพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดพระนคร น่าจะเป็นส.ส. ที่มีสติปัญญาและมีความกล้า พระองค์ทรงเห็นว่ามีส.ส. จำนวนไม่น้อยที่ไม่วางใจในหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นทหารที่คาดว่าหลวงประดิษฐ์มนูธรรมจะต่อต้านการใช้จ่ายด้านทหาร และอีกส่วนหนึ่งเห็นว่าเขามีความโน้มเอียงไปทางลัทธิคอมมิวนิสต์ ในขณะเดียวกันทรงมีพระราชหฤทัยหวังว่าสภาผู้แทนราษฎรจะมีมติไม่ทำอะไรผลุนผลันและจะทัดทานฝ่ายทหารไว้ได้บ้าง 
ปัจจุบันการเลือกตั้งได้มีการพัฒนารูปแบบมากขึ้น เห็นได้จากการเลือกตั้งไม่ได้จำกัดเพียงเลือกคณะรัฐบาล ในระดับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เท่านั้น ยังมีการเลือกตั้งผู้แทนในระดับท้องถิ่นด้วย อาทิ ผู้ว่าราชการ สมาชิกสภาจังหวัด และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั