เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยุโรปกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 7
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศสยามกับประเทศในยุโรปในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงในบริบททั้งปัจจัยภายในและภายนอก
การดำเนินการความสัมพันธ์กับต่างประเทศ คือ
การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคกับประเทศตะวันตก และการมีบทบาทเป็นประเทศสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ ต่อเนื่องจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่
6 นับเป็นเวทีโลกระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจ
และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนดินแดนเพื่อนบ้านที่อยู่ในการปกครองของประเทศอังกฤษและเนเธอร์แลนด์
ได้แก่ สิงคโปร์ ชวา และบาหลี ในปีพ.ศ. 2472
การเสด็จเยือนดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2473 และการเสด็จเยือน สหรัฐอเมริกา แคนาดา
และญี่ปุ่น ในปีพ.ศ. 2474 รวมทั้งการเสด็จเยือนประเทศต่างๆในยุโรป พ.ศ.2476-2477
แสดงให้เห็นถึงการปรากฏสถานะและทิศทางใหม่ของประเทศสยามในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นประเทศเอกราชที่มีความเท่าเทียมกับนานาอารยประเทศ
จากบริบทดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาวันเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับทูลเกล้าถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศในโอกาสสำคัญต่างๆ
ได้ 4 วาระสำคัญดังนี้ คือ
3.1
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก (ระหว่างพ.ศ.
2468-2469)
ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราบ๊าธชั้นที่ 1 ของประเทศอังกฤษ(The Most Honourable Order of the Bath)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราเลจองดอนเนอร์ชั้นที่ 1 ของประเทศฝรั่งเศส (L’Ordre National de la Legion D’ Honneur) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราเลโอโปลด์ชั้นที่ 1 ของประเทศเบลเยี่ยม(The
Order of Leopold)
และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราสิงห์ของประเทศเนเธอร์แลนด์ (The Order of the
Netherlands Lion) สังเกตได้ว่าเป็นประเทศที่เคยทูลเกล้าฯถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์สืบเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
4, รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 เป็นการสืบสานพระราชไมตรีเดิม
3.2 วาระในการทำสนธิสัญญาใหม่ (ระหว่างพ.ศ.
2469-2470) ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราช้าง ของประเทศเดนมาร์ก(The
Order 0f The elephant)
และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่ง
ตราอานุนซิอาตา ของประเทศอิตาลี (The Order of the
Most Holy Annunciation)
3.3 วาระการฉลองพระนครครบ 150 ปี
(ระหว่างพ.ศ. 2474-2475) ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราเซนต์โอลาฟ
ของประเทศนอร์เวย์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราเฟิมของประเทศสวีเดน
(The Royal Order of the Seraphim)
3.4 การเจริญสัมพันธไมตรีแลกเปลี่ยนเครื่องราชอิสริยาภรณ์เมื่อเสด็จประพาสยุโรป
(ระหว่างพ.ศ. 2476- 2477) ได้แก่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไวท์ไลออนของประเทศเชคโกสโลวาเกีย (The Order of the
White Lion)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ครัว เดอ เมริทของประเทศฮังการี (Le Croix de Merite)
และเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์ชาร์ล ของประเทศโมนาโก (The Order of St.Charles)
นับเป็นการริเริ่มพระราชไมตรีกับประเทศใหม่ๆในทวีปยุโรปจากการเสด็จเยือนประเทศยุโรป
9
ประเทศซึ่งมีทั้งการสืบสานและริเริ่มพระราชไมตรีใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
การศึกษาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงนับเป็นเครื่องแสดงถึงความเชื่อมโยงกับพระวิเทโศบายเพื่อการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศต่างๆในยุโรปอย่างมีนัยสำคัญ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น