ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การแต่งกายของคนไทย : ความเปลี่ยนแปลงของชนชั้นนำไทย








บทคัดย่อ

          ความเปลี่ยนแปลงของการแต่งกายของชนชั้นนำไทยตั้งแต่พ.ศ. 2399-2490” เป็นงานวิจัยที่มีพื้นฐานมาจากการใช้กระบวนการวิจัยทางประวัติศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่ออธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการของการแต่งกายของชนชั้นนำในสังคมไทย งานวิจัยนี้มีสมมติฐานว่า การเปลี่ยนแปลงของการแต่งกายของชนชั้นนำไทยสืบเนื่องมาจากการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก กล่าวคือ การปรับรูปแบบการแต่งกายของชนชั้นนำไทย เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากทำสัญญาเบาว์ริง (Bowring) กับประเทศอังกฤษในพ.ศ. 2398 ด้วยเหตุที่ว่า มีการติดต่อสัมพันธ์ค้าขายกับประเทศตะวันตกต่างๆ มากขึ้นเป็นทวีคูณ อีกทั้งพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลจากรัชกาลที่ 4 มาจนถึงรัชกาลที่ 7 ผู้ทรงปกครองมีพระราชประสงค์ที่จะปรับประเทศเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่แบบตะวันตกซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนลักษณะรูปแบบการแต่งกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสตรีขั้นนำ และเครื่องแบบข้าราชการ ทหารและพลเรือนนำความเป็นตะวันตกมาผสมผสานกับของไทยที่มีมาแต่เดิมมากขึ้นจนเป็นลำดับ แต่พบว่าในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการปรับให้เรียบง่ายและประหยัดขึ้น ตามพระราชนิยม และสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
          ครั้นในสมัยรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม ในพ.ศ.2484 ท่านผู้นำได้ออกรัฐนิยมฉบับที่ 10 เรื่องการแต่งกายในที่สาธารณะของราษฎรในเชิงบังคับ ซึ่งราษฎรได้ทำตามในที่สาธารณะ แต่เมื่อเลิกการบังคับใช้กฎหมาย ปรากฏว่าราษฎรได้เลิกสวมหมวก แต่ยังนิยมการนุ่งกางเกง ในกรณีของบุรุษ และการนุ่งกระโปรง ในกรณีของสตรี อาจสรุปได้ว่า ผู้คนทั่วไปในสังคมไทยหันมาแต่งกายแบบตะวันตกชัดเจนขึ้นเมื่อมีการบังคับในเบื้องแรกและสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน







Abstract
          Changes in the modes of dress of Thai elites began during the Fourth Reign, especially after the signing of the Bowring Treaty with Great Britain in 1865. This was as a result of much greater contact with the west and because the Kings who ruled up the Seventh Reign wanted to modernize the country along western lines. This included the progressive mixing of Western modes of dress with the traditional Thai in the cases of military and civilian officials and elite ladies.  However, during the Seventh Reign, They were made simpler and more economical in line with royal prefer and line with the economic downturn. when in 1931, Prime Minister Pibulsongkram issued the State Preferences Edict No. 10 regarding dress codes both for officials and lay people ,ordinary people had to follow when they were in public, However, when the edict ceased to be people no longer wore hats but yet men continued to wear trousers and women skirts.
          Thus, it can be concluded that, when forced, Thai people adopted Western modes of dress when in public. However, when enforcement was relaxed, they chose which parts of it they would follow habitually.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...