ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 7

 

ใต้ฟ้าประชาธิปก : “การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 7



 

                                                    

  งานสัมมนาวิชาการพระปกเกล้าศึกษา เรื่อง “การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 7” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13.00-16.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารรำไพพรรณี พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบถึงพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อการแพทย์การพยาบาล และเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับงานสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 7  

ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. นายแพทย์ สรรใจ แสงวิเชียร ที่ปรึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำเสนอถึงพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านการสาธารณสุขและด้านการแพทย์ รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานเงินทุนสร้างตึกหลายแห่ง และเสด็จฯ เปิดสถานที่ทำการ ณ โรงพยาบาลศิริราชถึงสามครั้งด้วยกัน ในปีพ.ศ.2741 รวมทั้งวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯไปยังห้องประชุมตึกบัญชาการ (ตึกคณะอักษรศาสตร์) พระราชทานปริญญาเวชชบัณฑิตชั้นตรี (แพทยศาสตรบัณฑิต) ให้นายแพทย์ปริญญารุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 นับเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในสยาม และในสมัยนี้ยังมีการออกพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2470 ขึ้นบังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยห้ามมิให้ผู้ใดทำ หรือนำเข้ามาหรือขายหางน้ำนมอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารก

อาจารย์ ดร. ชาติชาย มุกสง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นำเสนอ 3 ประเด็นสำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเด็นแรก นโยบายการแพทย์และการสาธารณสุขไทยผลจาก “ตัวตนสยามใหม่” ในความสัมพันธ์กับนานาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่1-2 ประเด็นที่สอง สถานะทางเศรษฐกิจกับการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคด้านการแพทย์และการสาธารณสุข จากส่วนกลางขยายสู่ภูมิภาค และประเด็นที่สาม การเปลี่ยนผ่านนโยบายจากการแพทย์เชิงรักษาเป็นการแพทย์เชิงป้องกัน (from curative to preventive) และเล่าถึงประวัติศาสตร์ของโรคระบาด อาทิ อหิวาตกโรคระบาด พ.ศ. 2469  การป้องกันไข้ทรพิษ เมื่อพ.ศ. 2470 รวมถึงปัญหาของโรคเรื้อน และปัญหากามโรค เป็นต้น

โดยมีอาจารย์สาโรจน์ จิตติบพิตร อาสาสมัครพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ดำเนินรายการสรุปประเด็นที่น่าสนใจ  อาจกล่าวได้ว่างานด้านสาธารณสุขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคบุกเบิกและวางรากฐานงานด้านการสาธารณสุขในเวลาต่อมา

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั