ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

 

เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

          



เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จกล้าหาญ

            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนั้นสำหรับเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ช่วยเหรือราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในการปราบปรามกบฏบวรเดช[1] ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นสมควรได้รับพระราชทาน โดยได้ตรา พระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๔๗๖ ขึ้นใช้ ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๗๖ ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

                ผู้ออกแบบ กรมศิลปากร

                เป็นเหรียญทองแดงรมดำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านละ ๒๓ มิลลิเมตร ย่อกลางทั้งสี่ด้าน ด้านหน้ามีภาพสมุดรัฐธรรมนูญวางบนพานแว่นฟ้าสองชั้น อยู่ภายในวงพวงมาลัยชัยพฤกษ์ แผ่รัศมีกระจายทั่วมณฑล ด้านหลังมีรูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระขรรค์ในท่าประหารปรปักษ์ ยืนลอยอยู่เหนือตัวอักษรตามขอบล่างว่า ปราบกบฏ พ.ศ. ๒๔๗๖ ภายใต้ห่วงอันมีอักษรว่า พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แพรแถบสีธงไตรรงค์กว้าง ๒๘ มิลิเมตร ห้อยบนแพรแถบมีเข็มโลหะทองแดงรมดำ จารึกอักษรว่า สละชีพเพื่อชาติ

การประดับ

๑.      ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

๒.      ผู้ที่เป็นทหาร ตำรวจ หรือลูกเสือ ประดับเหรียญนี้ได้ทุกโอกาสตามแต่จะเห็นสมควรในเมือสวมเครื่องแบบ

๓.      สำหรับ (๑) ผู้ที่ไม่สมเครื่องแบบทหาร ตำรวจ หรือลูกเสือ (๒) พลเรือนทั่วไป ประดับเหรียญนี้ได้ในโอกาสต่อไปนี้

             ก. ในงานพระราชพิธีและงานต่างๆ ซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าหน้าที่จัดการ

             ข. ในงานต่างๆ ที่เป็นงานพิธีหรืองานเพื่อเกียรติยศแก่หมู่เหล่าหรือบุคคลใดที่สมควรการแต่งกาย ให้แต่งอย่างสุภาพตามธรรมเนียม และกาลนิยม

 



[1] บฏบวรเดช ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๖ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ด้วยความสนับสนุนของทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล (พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา) โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการลบหลู่หมิ่นพระบรมราชานุภาพในองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้แต่ฝ่ายรัฐบาลปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั