ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กษัตริย์นักถ่ายภาพและถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่น

 



กษัตริย์นักถ่ายภาพและถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่น
 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถในการถ่ายภาพและถ่ายภาพยนตร์ดังมีหลักฐานปรากฏว่า เมื่อพระชนมายุเพียง 12 พรรษา พระองค์ทรงส่งภาพชื่อ“รูปตื่น”เข้าร่วมงานประกวดประชันภาพถ่ายในงานประจำปีของวัดเบญจมบพิตรเมื่อพ.ศ.2448 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดขึ้นและในครั้งนั้นทรงได้รับพระราชทานเหรียญทองแดงประกอบกับการที่พระองค์โปรดการทอดพระเนตรภาพยนตร์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์  

จากพระราชนิยมดังกล่าวเป็นรากฐานให้ทรงโปรดการถ่ายทำภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์ พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองจากหนังสือวารสารรายเดือนชื่อ"International Review of Educational Cinematography "พิมพ์ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี และทรงเพิ่มพูนความรู้จนเกิดความเชี่ยวชาญจากการถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่น ในขณะที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในและต่างประเทศ พระองค์จะทรงถือกล้องถ่ายภาพยนตร์ขนาดเล็กติดพระหัตถ์อยู่ด้วยเสมอ เพื่อทรงถ่ายภาพยนตร์และบันทึกเหตุการณ์ต่างๆเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง  พระองค์ทรงเป็นต้นแบบของนักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นที่มีพระวิริยะบากบั่นและทุ่มเทด้วยพระจริยาวัตรอันงดงามและนับเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ 


       รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าให้เรียกชื่อว่า“ภาพยนตร์ทรงถ่ายหรือภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์”เป็นรูปลูกศรสามดอกไขว้กันเป็นสัญลักษณ์ของพระนาม “ประชาธิปกศักดิเดชน์” แปลว่าผู้ทรงอำนาจด้วยศร หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “ภาพยนตร์อัมพร”นี้ ถูกเขียนเป็นลายเส้นตัวอักษรทับอยู่บนรูปวาดลายเส้นพระที่นั่งอัมพรแบบหนึ่งและอีกแบบหนึ่งเป็นรูปวาดลายเส้นปราสาทลอยอยู่บนเมฆอีกรูปแบบหนึ่ง 

พระองค์ทรงอำนวยการบริหารในทุกเรื่องเสมือนเป็นกองถ่าย อันประกอบด้วยเจ้านายและข้าราชบริพารที่ร่วมทรงถ่าย อาทิ เช่น หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร ราชเลขานุการในพระองค์ระหว่างพ.ศ. 2468-2470 กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ราชเลขานุการในพระองค์ ระหว่างพ.ศ. 2471-2473 หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล เจ้านายซึ่งประทับในราชสำนักใกล้ชิดพระยุคลบาท และ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์ สุประภาต พระโอรสบุญธรรมซึ่งทรงพระเมตตาเลี้ยงอย่างใกล้ชิดมาแต่ทรงพระเยาว์  

ัจจุบันมีภาพยนตร์สารคดีที่เป็นภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ที่ห้องศาลาเฉลิมกรุงจำลองพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กรุงเทพฯ

 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...