ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

 




บทความโดยม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพลและนายบุญพีร์ พันธ์วร

เมื่อหนึ่งร้อยปีกว่ามาแล้ว  (116 ปี) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2447 หม่อมเจ้าหญิงองค์หนึ่งได้ประสูติ เป็นพระกัญญาพระองค์เดียวในบรรดาเจ้าพี่เจ้าน้องพระมารดาเดียวกัน เมื่อทรงเจริญพระชนม์เป็นวัยรุ่น ได้ทรงอภิเษกสมรสเป็นพระชายาในสมเด็จเจ้าฟ้า ผู้พระชตากำหนดให้ต้องทรงรับราชบัลลังก์
ทรงระลึกว่า
ฉันไม่เคยเป็นเด็ก พออายุ 14 15 ปี ก็ต้องเป็นผู้ใหญ่เลย
การอบรมบ่มนิสัยแต่วัยเยาว์ ในราชสำนักของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 ได้หล่อหลอมพระอุปนิสัยมานะอดทน ฉะนั้นเบื้องใต้พระสิริโฉมงดงามชวนพิศ จึงทรงมีพระหทัยแน่วแน่ที่จะทรงกระทำแต่ในสิ่งที่ถูกที่ควร เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระเกียรติศักดิ์แห่งราชนารีในพระบรมราชจักรีวงศ์ ทุกกาลสถาน 
เมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 ต้องทรงโดยเสด็จฯ สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกฯ สู่แดนดินทุรกันดารในเมืองฝรั่ง ก็ได้ทรงปฏิบัติวัฏฐากพระราชสวามีด้วยความจงรักภักดี ทั้งในยามที่ทรงสุขสำราญ และทรงรักษาพยาบาลในเวลาที่ทรงพระประชวร 
เหตุดังนี้ เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ พระองค์นั้น ขึ้นทรงราชย์เป็นรัชกาลที่ 7 จึงทรงสถาปนา หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี คู่ทุกข์คู่สุขของพระองค์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ศรีประชาธิปก สยามมินทราธิราช พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถิตสถาพรเป็นพระมเหสีพระองค์เดียวโดยตลอด
ครั้นโดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสดับถึงทุกข์สุขของราษฎรในพระราชอาณาจักรตั้งแต่เหนือ คือ เชียงราย จรดใต้ คือ ปัตตานี สมเด็จพระบรมราชินีทรงใฝ่พระราชหฤทัยเป็นพิเศษในการสาธารณสุขและการศึกษา
เมื่อเสด็จประพาสต่างแดนระยะใกล้ คือ ชวา บาหลี และอินโดจีน อีกทั้งแดนฝรั่งห่างไกล คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อีกทั้งยุโรป ที่ซึ่งไม่เคยมีพระบรมราชินีแห่งสยามเสด็จเยือนมาก่อน ก็เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ชาวต่างประเทศทุกสถานะอาชีพ ว่าทรงมีพระจริตงดงามเป็นธรรมชาติ พระสรวลที่ทรงแย้ม ซึ่งเอียงอายอยู่ในที แสดงชัดถึงมิตรจิตไมตรี และความจริงพระทัย ทรงเป็นราชนารีสยามผู้วางพระองค์ได้อย่างเหมาะสมในสากลโลก
ณ ริมฝั่งทราย
ไกลกังวลวังส่วนพระองค์ที่หัวหิน คลื่นการเมืองได้ซัดกระหน่ำระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแรง
เบื้องข้างพระบรมราชสวามี มีสมเด็จฯ คู่พระบารมี ผู้ทรงพร้อมที่จะอุทิศชีวิตถวาย โดยไม่ทรงคิดแม้แต่นิด ว่าจะปลีกพระองค์หนีไปไกลหรือให้ไทยต้องต่อสู้ ให้เสียเลือดเนื้อไทยด้วยกันเอง กลับทรงหนุนให้ทรงเผชิญพระราชภารกิจ ในอันที่จะจรรโลงระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและสิทธิประชา ให้เกิดมีในสยามโดยราบรื่น ดังที่ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกเริ่มรัชกาล
แต่แล้ว ในศกถัดมา กลับต้องทรงโดยเสด็จฯ จากวังเดียวกันนั้นด้วยเรือเล็ก กลางทะเลลึก คลื่นลมแรง มุ่งใต้สู่สงขลา ในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรม
ตามที่ทรงเข้าพระราชหฤทัย อีกทั้ง ด้วยพระราชสถานะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นอันหมดหนทางที่จะทรง ช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้วจึงทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477เพื่อหลีกเลี่ยงการที่องค์พระมหากษัตริย์ จะต้องตกเป็น องค์ประกันของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่กำลังรบกันเพราะความเห็นต่าง
สมเด็จฯ รับสั่งในภายหลังว่า
ฉันไม่คิด ไม่รู้สึกอะไรทั้งนั้น ถ้าจะตายก็ตายด้วยกันกระนั้น คลื่นลมการเมืองก็หาได้สงบนิ่งลงไม่ ท้องฟ้าครืนๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งพระเนตรของ พระบรมราชสวามีประชาธิปกก็กำลัง จะบอดอยู่แล้วจึงต้องเสด็จฯ ไปให้ศัลแพทย์รักษาที่อังกฤษ 
ครั้นเมื่อสุโขทัยธรรมราชา ทรงพินิจพิจารณาเห็นว่า การปกครองที่ได้เกิดมีขึ้นในขณะนั้น
ไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพ
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงเห็นชอบกับการตัดสินพระราชหฤทัยของพระบรมราชสวามี

ตลอดรัชกาลที่ 8 สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกฯ ราชันผู้นิราศกับพระราชชายารำไพพรรณี ประทับอยู่เยี่ยงผู้ดีประจำหมู่บ้านชนบทอังกฤษอย่างเรียบง่ายเป็นกันเองกับผู้คนทั้งฝรั่งแหม่ม ซึ่งรู้ซึ้งถึงพระเมตตากรุณาธิคุณ และความทรงใฝ่ในความเป็นธรรมต้องทรงลี้ภัยไปให้ไกลจากลูกระเบิดจากเวหาในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งอภิบาลรักษา พระบรมราชสวามี ผู้ทรงประชวรพระโรคพระหทัย 
แต่แล้ว ท่ามกลางมหาสงครามมืด ประชาธิปก ราชันผู้นิราศ ได้เสด็จสวรรคต ขณะที่สมเด็จฯ ทรงพระชนม์เพียง 37 ชันษาทรงควบคุมพระสติอารมณ์ได้อย่างดี ท่ามกลางเสียงร่ำไห้ของผู้คน จนพระบรมศพเคลื่อนไป จึงทรงกลั้นพระกรรแสงไว้ไม่อยู่ รับสั่งว่า
เขาเอาไปแล้ว 
แม้จะทรงเดียวดาย แต่พระราชหฤทัยเด็ดเดี่ยว กล้าหาญมิได้มลายหาย กลับเสด็จฯ เสี่ยงภัยระเบิดไปทรงจัดบรรจุหีบห่อยา
กาชาดพระราชทานทหารหลากชาติศาสนาในแนวหน้า อีกทั้งพระราชทานกำลังใจแก่เหล่า เสรีไทยกู้ชาติ มนุษยธรรมประจำพระจิต ยิ่งใหญ่นัก
ครั้นสงครามสงบลง ได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิกลับสู่ไทย เพื่อประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง อย่างสมพระเกียรติยศเจ้าจอมสยามแต่กาลก่อน
ตลอดช่วงเวลาถึง 35 ปี หลังจากนั้น ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ได้ทรงบำเพ็ญคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองไทย มิหยุดหย่อน อย่างที่เรียกได้ว่า
งานหลวงมิได้ขาด งานราษฎร์มิได้เว้นเสด็จฯ ไปประทับ อย่างหญิงไทยธรรมดา คนหนึ่งดังที่รับสั่งไว้ ท่ามกลางชาวบ้านชาวสวนจันทบุรีถึงเกือบ 20 ปี 
สวนบ้านแก้วที่ประทับ ทรงทดลองการเพาะปลูกพืชผล อีกทั้งการย้อมเสื่อจันทบูรให้สีไม่ตก แปลงเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอยแปลกใหม่ ทั้งหมดเพื่อทรงส่งเสริมการทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวบ้าน
ด้วยพระปิยวาจาสุภาพอ่อนโยน ทรงชักจูงแนะนำให้ช่างได้ทอเสื่อตามลวดลายที่ทรงออกแบบ อีกทั้งตัดเย็บผลิตภัณฑ์ด้วยความปราณีต ทรงขับแทรกเตอร์ไถหญ้าคา ทรงหว่านข้าว ดำนา เก็บผลไม้ อีกทั้งดูแลแปลงดอกไม้ ด้วยพระองค์เอง เป็ดไก่ กวางป่า สุนัขต่างได้รับพระกรุณา
เมื่อแรกเสด็จฯ ไปจันทบุรี มีดบาดพระดัชนี แต่โรงพยาบาลแทบจะไม่มีปลาสเตอร์ปิดแผล ทรงสลดพระราชหฤทัย ห่วงใยชาวบ้านธรรมดายามเจ็บไข้ได้ป่วย จึงทรงพระเมตตาอนามัยราษฎร์ สร้าง
ตึกประชาธิปกพร้อมอุปกรณ์ผ่าตัดพระราชทาน ต่อมามีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล จึงทรงตั้ง ทุนประชาธิปกขึ้นเพื่อทนุบำรุงโรงพยาบาลซึ่งต่อมาคือ โรงพยาบาลพระปกเกล้าอันทันสมัยในปัจจุบัน
ครั้นเมื่อต้องทรงจาก
สวนบ้านแก้วเพราะ ภาวะเศรษฐกิจบังคับใจจึงทรง ขายบ้าน ที่เคยให้ความสุขมาเกือบหนึ่งในสามของพระชนมชีพ แก่รัฐบาลในราคาถูก เพื่อเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาระดับสูง เยาวชนในแถบจันทบุรีจะได้ไม่ต้องไปเรียนหนังสือไกลๆ 
สถาบันการศึกษานี้ได้เติบโตจาก
วิทยาลัยรำไพพรรณีฝึกหัดครู เป็นสถาบันราชภัฏ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีแหล่งสรรพวิชาในปัจจุบัน
ทุนประชาธิปกในนาม มูลนิธิประชาธิปกรำไพพรรณียังคงสืบสานพระราชประสงค์จำนงค์หมาย สนับสนุนมหาวิทยาลัยนั้นและโรงพยาบาลพระปกเกล้า

ตั้งแต่พระชันษา 64 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ประทับอยู่ที่วังศุโขทัย สามเสน เสด็จพระราชดำเนินไปในงานพระราชพิธี ทั้งออกทรงเยี่ยมราษฎรตามจังหวัดต่างๆ พระราชทานเครื่องนุ่งห่ม ยา และอาหาร ด้วยพระสรวลที่ทรงแย้ม ดั่งสายฝนหลั่งมาไม่ขาดสาย
ทรงใช้โอกาสเดียวกันนั้น สำราญพระราชหฤทัย ด้วยการทรงกีฬากอล์ฟตามเขื่อนต่างๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต อีกทั้งของกองทัพทั้งหลายและของเอกชน พระราชทานถ้วยรางวัล สมดังที่ทรงเป็นราชินีผู้บุกเบิกกอล์ฟสตรีในสยาม
ทรงพระกรุณาฯ ประกอบพิธีสมรสพระราชทาน อีกทั้งเสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานงานการกุศลมากหลาย
ทรงงานไม่เว้นว่างหยุดหย่อน จนพระอาการประชวรด้วยโรคเส้นพระโลหิตตีบตันกำเริบ ขณะทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 6 รอบพระชนมพรรษา
แต่นั้นมา ทรงพระราชดำเนินได้ไม่ถนัด จึงต้องประทับอยู่แต่ที่วังเป็นส่วนใหญ่ กระนั้นยังเพียรเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรหุ่นจำลอง พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดิษฐาน ณ พระบรม-ราชานุสาวรีย์ที่หน้าอาคารรัฐสภา 
เงินบริจาคของประชาชนที่เหลือจากการสร้าง รัฐสภาได้นำมาตั้งเป็นมูลนิธิ และเมื่อกราบบังคมทูลฯ สมเด็จฯ ก็ได้พระราชทานชื่อว่า
มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการศึกษาและสนับสนุนการแพทย์ การพยาบาล 
อีกทั้งทรงดำริการไกล พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์ในหลวงพระองค์นั้นแก่รัฐสภา เพื่อจัดแสดงให้คนรุ่นหลังได้เชยชมและรำลึกในพระราชกิจน้อยใหญ่ จนเป็นที่มาของ
พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าฯที่ผ่านฟ้าในปัจจุบัน
และแล้ว เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จสู่สวรรคาลัย อย่างสงบด้วยพระหทัยวาย พระชนม์ร่วม 80 พรรษา
ในพระชนมชีพ 5 แผ่นดิน ราชนารีพระองค์นี้ได้ทรงดำรงพระองค์ด้วยพระราชอัธยาศัยนุ่มนวลแต่เด็ดเดี่ยว สงบเสงี่ยมเรียบง่ายแต่มีแบบแผน ทรงเผชิญกับเหตุการณ์อันไม่อาจคาดคิด หลายครั้งครา ด้วยพระขันติธรรมและพระอโหสิวิสัย ทรงแผ่พระเมตตา และพระกุศลกรรมโดย ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ทรงรักษาพระเกียติยศไว้ได้อย่างสง่างามตลอดระยะเวลาอันยาวนาน สมดังที่ประสูติมาในตระกูลกษัตริย์ขัตติยะ...ทรงเป็นราชนารีแห่งแผ่นดินสยามครบถ้วนทั่วอย่างหาที่สุดมิได้

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...