ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พัฒนาการเศรษฐกิจไทยสมัยรัชกาลที่ 7

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) เป็นระยะเวลาแห่งความยุ่งยากทางเศรษฐกิจและความผันผวนของเศรษฐกิจโลก เกิดปัญหาเสถียรภาพของการเงินระหว่างประเทศ การเพิ่มขึ้นของการกีดกันทางการค้า อันนำมาสู่ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษ 2470 ซึ่งมีผลกระทบต่อไทยด้วย ภายใต้การดำเนินนโยบายตาม “แนวอนุรักษ์นิยม” ที่เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 7 นับเป็นความพยายามจะบรรลุถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจัง เศรษฐกิจไทย (ยกเว้นช่วงปี 2474-2475) กลับมาอยู่ในช่วงที่มีเสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศ กล่าวคือ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในฐานะมั่นคง ดุลบัญชีเดินสะพัดและฐานะทางการคลังทั้งงบประมาณของประเทศก็สามารภอยู่ในฐานะเกินดุล เงินคงคลังและทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น หนี้สินต่างประเทศต่อ GDP อยู่ในระดับต่ำ ศ. ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ระบบเศรษฐกิจระหว่างชาติในช่วงรัชกาลที่ 7 ก้าวพ้นปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจ 3 ประการ คือ ประการแรก มีการกระจายตัวของตลาดการค้าข้าวเพื่อการส่งออกไปยังหลายประเทศ ประการที่สอง แม้ว่าจะเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก และมีผลต่อการลดลงของราคาข้าวอย่างต่อเนื่องแต่ปริมาณของการส่งออกข้าวยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง การส่งออกข้าวช่วยให้ดุลการค้ายังอยู่ในภาวะเกินดุล และ ประการที่สาม โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพหรือเลี้ยงตนเอง (ยกเว้นในภาคกลางใกล้กรุงเทพฯ) ปัจจัยทั้งสามข้อดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนาการของเศรษฐกิจไทยทำให้ก้าวพ้นปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในทศวรรษ 2470 และได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า อินโดนีเซีย จากการศึกษาวิจัยดังกล่าว พบว่าการวางโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การสร้างชลประทานในต่างจังหวัด การสร้างท่าเรือคลองเตย การสร้างถนนทางหลวงเชื่อมจังหวัดธนบุรีในขณะนั้น การพัฒนาด้านการสหกรณ์ รวมทั้งมีการสำรวจเศรษฐกิจในชนบททั่วประเทศถึงสองครั้ง เพื่อให้รัฐบาลมีความรู้ ความเข้าใจในเศรษฐกิจชนบทได้อย่างถูกต้อง นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อแนวนโยบายของรัฐบาลหลายสมัยหลังจากนั้นต่อมา ซึ่งส่งผลต่อแนวนโยบายหลายโครงการต่อการพัฒนาประเทศมาจนปัจจุบัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...