สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๔๗
ทรงเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)
ต้นราชสกุล สวัสดิวัตน์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมพระองค์แรกในรัชกาลที่ ๕
และหม่อมเจ้าหญิงอาภาพรรณี (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี)
มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์
Born Royal H.M. Queen Rambhai
Barni was born a princess of Mom Chao (M.C.) rank on Tuesday, December 20, 1904,
at her father’s residence in Tambon Wang Sra Pathum. She was the eldest daughter
of H.R.H. Prince Svasti Sobhon, the first Minister of Justice appointed in the
Fifth Reign, and H.R.H.Princess Abha Barni.
“ท่านหญิงนา” เป็นพระนามลำลองในหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๖
หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีตามเสด็จฯ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปประทับ ณ พระตำหนักวังพญาไท
เนื่องจากโรงเรียนราชินีอยู่ไกล สมเด็จป้าจึงโปรดเกล้าฯ
ให้พระอาจารย์มาถวายพระอักษรที่พระตำหนักในวังพญาไท แต่เสด็จไปทรงสอบไล่ที่โรงเรียน
พร้อมกับทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ และโปรดให้ทรงเรียนรู้วิชาช่างชาววัง เช่น
งานเย็บปักถักร้อย งานดอกไม้กรองมาลัยด้วย
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงอุปการะพระประยูรญาติแต่ทรงพระเยาว์หลายรุ่น
หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีเป็นพระนัดดารุ่นเล็ก เช่นเดียวกับหม่อมเจ้าหญิงพวงรัตนประไพ
หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี มีพระนามลำลองว่า “ท่านหญิงนา” เมื่อทรงเจริญพระชันษาประมาณ
๘-๙ ปี ทรงทำหน้าที่อัญเชิญพานหีบหมากเสวย และฉลองพระเนตรตามเสด็จฯ
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ทั้งงานส่วนพระองค์และงานพิธี พระกรณียกิจนี้ฝึกฝนให้ทรงเรียนรู้การปฏิบัติพระองค์
และเพิ่มพูนประสบการณ์ที่ทรงคุณค่ายิ่งสำหรับอนาคต ระหว่างเสด็จประทับ ณ
วังพญาไทในครั้งนั้น บางคราวเสด็จออกไปนอกวังกับพระบิดาพระมารดา เช่น
เมื่อพระชันษาประมาณ ๑๑ ปี เสด็จไปประทับที่บ้านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
ริมน้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี
ท่านหญิงนาได้เสด็จลงสรงในแม่น้ำเจ้าพระยากับเจ้าพี่เจ้าน้อง
ทรงเป็นเจ้าพี่หญิงเพียงองค์เดียวในหมู่พระอนุชาที่ทรงเกาะหยวกกล้วยข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเหตุการณ์นี้
แสดงให้เห็นน้ำพระทัยเด็ดเดี่ยว
ของหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีมาแต่ทรงพระเยาว์
The Formative Years and Her Character Princess Rambhai Barni left
Rajini school after a year there since it was considered too far from Phya Thai
Palace. Instead she was again tutored at the Palace but attended examinations at
the school. She also had special English language lessons and was introduced to
palace crafts, such as sewing and embroidery as well as flower garland-making.
The Queen Aunt was fond of bringing up children. Princess Rambhai Barni was
among the younger nephews and nieces. Her bosom friend was her cousin, Princess
(M.C.)Puang Ratana Prabhai. When about 8-9 years old, Princess Rambhai Barni
performed the task of carrying the Queen’s betel nut set and spectacles after
her to royal ceremonies. She thus learnt by experience how to conduct and
compose herself, social skills and mannerisms which became second nature to her
throughout her later life. Princess Rambhai Barni took leave of the Queen to
visit her family from time to time. Since many of her siblings were boys, she
learnt to be tough while playing with them. When about eleven, she was the only
girl who succeeded in swimming across the Chao Phraya River holding on to a
banana trunk. All in all, Princess Rambhai Barni was brought up strictly
according to the traditions of the Royal Court. However, she also gained modern
knowledge from school. Both combined to make her not only knowledgeable and
skilful but also composed in her manner as well as firm and stable in her
disposition. These qualities stood her in good staid to face the diverse and
oftentimes difficult and risky situations in her later life while being able at
all times to maintain her dignity and honour as a female royal personage of high
station.
เกศากันต์ พุทธศักราช ๒๔๕๗
หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีทรงเจริญพระชนมายุครบเกศากันต์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ประกอบพิธีเกศากันต์พระราชทานพร้อมกันกับหม่อมเจ้ารวม ๗ พระองค์ ณ
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ ในพระบรมมหาราชวัง ดังนี้ หม่อมเจ้าหญิงพวงรัตนประไพ
เทวกุล หม่อมเจ้าชายจันทรศิริ จันทรทัต หม่อมเจ้าชายพีรยศยุคล สวัสดิวัตน์
หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ หม่อมเจ้าชายจันทรจุฑา ไชยันต์
หม่อมเจ้าหญิงกันยางคสมบัติ กิติยากร หม่อมเจ้าหญิงฉวีวงษ์ รุจจวิชัย
ในงานพิธีเกศากันต์นี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานเครื่องประดับชุดมรกตกับเพชรให้แต่งพระองค์หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี
และเครื่องทับทิมให้แต่งพระองค์หม่อมเจ้าหญิงพวงรัตนประไพ
พระนัดดาสองพระองค์จึงทรงเครื่องเกศากันต์สวยงามสมพระเกียรติด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
Tonsure Ceremony Also when she was eleven, H.M. King Vajiravudh (Rama VI)
ordered a tonsure ceremony (topknot–cutting rite of passage to adulthood) to be
held according to custom for Princess Rambhai Barni and other princesses and
princes of the same Mom Chao (M.C.) rank. H.M. Queen Saovabha Phongsri
personally supervised the preparations and gave Princess Rambhai Barni emerald
and gold ornaments and Princess Puang Ratana Prabhai ruby ones to wear on the
occasion.
พุทธศักราช ๒๔๕๖ – ๒๔๕๗ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา
ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกวูลิชแล้ว เสด็จไปทรงประจำการ ณ
กรมทหารปืนใหญ่ที่เมืองออลเดอซอด ประเทศอังกฤษ เมื่อเสด็จนิวัติพระนครในพุทธศักราช
๒๔๕๘ ดำรงพระยศนายร้อยโท ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวรพิเศษของเสนาธิการทหารบก
(พลเอกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ)
เมื่อเสด็จไปเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีที่วังพญาไท
ทรงได้พบปะพระนัดดาของสมเด็จแม่หลายพระองค์ รวมทั้งหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี
ทรงสนิทสนมคุ้นเคยจนมีพระราชหฤทัยผูกพันในหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี
หลังจากทรงผนวชในพระบวรพุทธศาสนาประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหารครบ ๑ พรรษา
ทรงลาสิกขาแล้วได้กราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี มีความตอนหนึ่งว่า
...บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้ปฏิพัทธ์รักใคร่กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี
ธิดาแห่งเสด็จน้าและข้าพระพุทธเจ้าอยากจะใคร่ทำการสมรสกับเจ้าหญิงนั้น...
ส่วนการพิธีเศกสมรสนั้นจะกระทำอย่างไร
และวันเวลาใดย่อมแล้วแต่ไต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจะทรงกำหนด
ทั้งนั้นตามข้อความข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลมานี้
สมเด็จแม่ทรงเห็นพ้องด้วยแล้วทุกประการ...
Courtship and Marriage In 1915, H.R.H.
Prince Prajadhipok, the youngest son of the Queen Aunt, returned from his
studies in the United Kingdom to serve in the Siamese Army. He always went to
see his mother and extended his kindness to his young relatives in the Palace,
both boys and girls. Among these was Princess Rambhai Barni whose gentle and
civil manner but resolute disposition, as well as exceptional beauty, attracted
his attention. It developed into fondness and love. After a customary time in
the Buddhist monkhood, H.R.H. Prince Prajadhipok in 1918 decided to pen a letter
seeking H.M. King Rama VI’s permission to marry Princess Rambhai Barni.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างตำหนักพญาไทสำหรับเสด็จประพาส
มีงานคฤหมงคลขึ้นพระตำหนัก ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ที่ทุ่งพญาไทนี้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
(เป็นแบบแผนมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระตำหนักท้องพระโรง สผ. พร้อมเรือนหลวงต่างๆ
ถวายเป็นที่ประทับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ซึ่งประทับ ณ พระราชวังพญาไทตราบจนเสด็จสวรรคต
Phya Thai Palace Phya Thai Palace was originally an experimental vegetable
garden and chicken farm. In 1909, H.M. King Chulalongkorn had the Phya Thai
Mansion built for his recreation. Royal Ploughing Ceremonies were held there
from then until the Seventh Reign. During the Sixth Reign, H.M. King Vajiravudh
ordered the Saovabha Phongsri Audience Hall to be built together with a royal
residence for his Queen Mother. She lived there until she passed away.
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468 : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 : พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...
พิธีเกศากันต์ หรือการโกนจุกเป็นสัญลักษณ์ว่า หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีทรงผ่านชีวิตวัยเด็กเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว ดังที่ทรงเคยรับสั่งว่า "ฉันไม่เคยเป็นเด็ก พออายุ 14-15 ปี ก็ต้องเป็นผู้ใหญ่เลย" เพราะทรงเข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2461 ในสมัยรัชกาลที่ 6
ตอบลบ