ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระราชดำริด้านประชาธิปไตยในรัชกาลที่ ๗

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์พระองค์สุดท้ายซึ่งอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยฝักใฝ่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีหลักฐานเกี่ยวกับพระราชดำริดังกล่าวคือ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับปรุงการปกครองให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในสมัยนั้น ดังข้อความที่กล่าวว่า. “กระแสความเห็นในประเทศนี้ส่งสัญญาณชัดแจ้งว่า กาลเวลาของระบอบอัตตาธิปไตยใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว หากจะให้พระราชวงศ์นี้สถิตอยู่ต่อไป จะต้องปรับให้สถานะของพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงขึ้น จะต้องหาหลักประกันอย่าให้มีพระมหากษัตริย์พร่องในความสุขุมรอบคอบ ในการทรงใช้พระวิจารณญาณ” พระราชบันทึกเรื่องการปกครอง Problems of Siam เอกสารพระราชบันทึกเรื่องการปกครองนี้เป็นเอกสารส่วนพระองค์ที่พระราชทานมายังพระยากัลยาณไมตรี (Dr. Francis B. Sayre) หลังจากการขึ้นครองราชย์เพียง ๘ เดือนเท่านั้น เป็นช่วงที่พระยากัลยาณไมตรีกราบบังคมลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศแล้ว แต่ได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทย รัชกาลที่ ๗ ทรงมีพระราชปุจฉาถาม เกี่ยวกับปัญหาของประเทศสยามจำนวน ๙ ข้อ เป็นปัญหาในเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภาจำนวน ๔ ข้อ และปัญหาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒ ข้อ นอกจากนั้นอีก ๓ ข้อได้แก่ปัญหาเรื่องการตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เรื่องสถานะทางการเงิน และปัญหาชาวจีน ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙(ค.ศ.1926) ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ได้ตอบพระราชปุจฉาแล้วถวายร่างรัฐธรรมนูญฉบับสั้นๆชื่อว่า "Outline of Preliminary Draft"มีเพียง๑๒ มาตรา เห็นควรให้มีการแต่งตั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเพื่อช่วยในการบริหารประเทศ แต่มีความเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนรูปการปกครองเป็นแบบรัฐสภา ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๔ (ค.ศ.1931) รัชกาลที่๗ ทรงโปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ พระยาศรีวิศาลวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ และนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศชาวอเมริกันร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า "An Outline of Changes in the Form of Government" กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารกับอำนาจนิติบัญญัติ และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมีความคิดเห็นว่าจะต้องให้ประชาชนมีประสบการณ์ในการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นเสียก่อนรัชกาลที่ ๗ จึงทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี และการสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรี แต่ทรงได้รับการทัดทานจากพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นสูงบางส่วนที่เป็นอภิรัฐมนตรีทำให้ทรงเลื่อนการพระราชทานรัฐธรรมนูญออกไป และอีกประมาณสองเดือนเศษ ก็เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยคณะบุคคลที่เรียกตนเองว่า"คณะราษฎร" พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมืองและความปลอดภัยของประชาราษฎรจึงทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญและได้ลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวพุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งคณะราษฎรทูลเกล้าถวาย และทรงเติมคำว่าชั่วคราวในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่อมาเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับรองร่างรัฐธรรมนูญแล้ว พระองค์จึงทรงประกอบพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาแล้วเห็นว่าการปกครองประเทศสยามในสมัยนั้นยังไม่ถูกต้องตามแบบแผนแห่งประชาธิปไตย และรัฐบาลไม่อาจสนองตามพระราชกระแสในหลักการสำคัญๆ เรื่องความยุติธรรมและเสรีภาพในตัวบุคคลได้ พระองค์จึงทรงมีพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติในวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ จากนั้นทรงประทับอยู่ในประเทศอังกฤษต่อมาและเสด็จสวรรคต ณ พระตำหนักคอมพ์ตันในประเทศอังกฤษในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...