<
เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา และหม่อมเจ้าหญิง รำไพพรรณี
พระชายา
เสด็จฯกลับเมืองไทยนั้นแม้ไม่ทรงคาดคิดหรือคาดหวังว่าจะต้องทรงดำรงตำแหน่งพระรัชทายาท
แต่สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนสุโขทัยธรรมราชาก็ทรงรับพระราชภาระงานราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นอย่างดี
ทรงได้เลื่อนพระยศเป็นนายพันเอกในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก
ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ ๒
และเลื่อนพระอิสริยยศทรงกรมขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗
แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช
๒๔๖๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี พระวรราชชายา
ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
เป็นการสถาปนาพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมราชินีในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์
ประกาศสถาปนามีความตอนหนึ่งว่า
....ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีมา
ได้ทรงประจักษ์แจ้งความจงรักของหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี อันมีต่อพระองค์
ได้ตั้งพระราชหฤทัยสนองพระเดชพระคุณทั้งปฏิบัติวัฏฐากในเวลาเมื่อทรงเป็นสุขสำราญและรักษาพยาบาลในเวลาเมื่อทรงประชวร
แม้เสด็จไปประทับอยู่ในทุระสถานต่างประเทศ
ก็อุตสาหโดยเสด็จติดตามไปมิได้ย่อท้อต่อความลำบากควรนับว่าได้เคยเป็นคู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มาเป็นนิรันดร จะหาผู้อื่นมาเสมอเหมือนมิได้
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติก็สมควรที่จะทรงสถาปนาหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี
เพราะความชอบความดีซึ่งได้มีต่อพระองค์มาแต่หนหลัง... The Investiture as Queen
Upon their return to Siam, the Prince unpreparedly found himself heir to the
throne. Then, on November 26, 1925, H.M. King Vajiravudh (Rama VI) passed away
and H.R.H. Prince Prajadhipok, the Prince of Sukhodaya, suddenly had to ascend
the throne. At the Coronation of H.M. King Prajadhipok as Rama VII of the Chakri
(Bangkok) Dynasty on February 25, 1926, the King ordered an addition to the
otherwise customary proceedings, namely, a part to raise M.C. Rambhai Barni, his
sole consort, to sovereign rank. This was the first time in the Bangkok period
for there to be an investiture of a queen at the coronation. The proceeding
occurred in the afternoon of the day. The proclamation of investiture referred
to the Princess’s evidently resolute and unsurpassed loyalty to His Majesty, her
attendance to his wishes in sickness and in health, and also to his happiness.
Such being the case, His Majesty saw it fit to proclaim her ‘Her Majesty Queen
Rambhai Barni’, elevating her to full honour as Queen according to law and
custom. The King then anointed Her Majesty with consecrated water from the royal
conch and invested her with objects of rank. The Queen now sat beside His
Majesty. From then on, she resolutely joined him in all activities, large and
small, on almost all occasions. สมเด็จพระบรมราชินีคู่พระบารมีอาทรราษฎร์
ธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งสมเด็จพระมหากษัตราธิราชโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระอัครมเหสีโดยเสด็จฯ เพื่อทรงปฏิบัติพระราชกิจอย่างเป็นทางการ
เริ่มมีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
ได้เสด็จฯไปประกอบพระราชกรณียกิจเคียงข้างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทั้งในพระราชอาณาจักร และในการเสด็จฯ ไปเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศ
การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนี้ โปรดเกล้าฯ
ให้ท้าวนางฝ่ายในซึ่งปฏิบัติงานในเขตพระราชฐานชั้นในได้ตามเสด็จพระราชดำเนิน
รวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้มีตำแหน่งผู้ถวายงานสมเด็จพระบรมราชินี เมื่อมีงานพระราชพิธี
งานพิธี และตามเสด็จพระราชดำเนินไปในที่ ต่างๆ อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วย
ตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ และนางพระกำนัล
ซึ่งทรงคัดเลือกจากเชื้อพระวงศ์และบุตรหลานข้าราชการผู้ใหญ่ที่ทรงคุ้นเคย
ตลอดรัชสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงอยู่ในสิริราชสมบัติ
สมเด็จพระบรมราชินีตามเสด็จฯไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการทั้งในพระนคร
ประกอบด้วยงานพระราชพิธี งานพิธี และการเสด็จฯไปในงานต่าง ๆ เช่น
กิจกรรมของสภากาชาดสยาม กิจกรรมด้านการศึกษา กิจกรรมกีฬา
และโดยเสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในหัวเมืองต่างๆ
In His Majesty’s Footsteps Though Queens since the Fifth Reign had accompanied
Kings to royal engagements, the practice became decidedly regular in the Seventh
Reign. Departing from time honoured tradition, H.M. King Prajadhipok and H.M.
Queen Rambhai Barni did not have separate residences. Neither did the King have
other wives. He accorded her all the dignity of his one and only consort. Fusing
tradition with modernity was also evident in the royal appointment of
ladies–in–waiting and maids–of–honour. They were wives and daughters of princes
and nobles respectively. Whereas earlier, female attendants to the Queen only
served within the palace, the modern version accompanied her outside and on
trips upcountry and abroad. Not only did she attend all royal ceremonies at his
side, she also went with him to a variety of social activities. These were
related to health, education and sport, for instance.
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468 : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 : พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น