ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รมณียสถาน “สวนบ้านแก้ว”

สวนบ้านแก้วตั้งอยู่ที่ตำบลเขาไร่ยา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ ๖๘๗ ไร่ ระยะแรกสร้างที่ประทับและเรือนที่พักชั่วคราว ทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงจาก สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสด็จไปประทับแรมครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ต่อมาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนัก เรือนรับรอง เรือนข้าราชบริพาร และสถานที่ต่างๆ สำหรับทรงงานตามที่ทรงพระราชดำริ เช่น พระตำหนักใหญ่ พระตำหนักที่ประทับทาสีเทา ศาลากลม หรือซุ้มดอกเห็ด ที่ประทับพระอิริยาบถ สวนส่วนพระองค์ (สวนดอกไม้) สวนดอกไม้เมืองหนาว สระเลี้ยงเต่า เลี้ยงปลา สวนส่วนพระองค์ (สวนผลไม้) ปลูกเงาะ มะปริง มะปราง ลิ้นจี่ เลี้ยงเป็ด ห่าน ไก่ และนกหงส์หยก พระตำหนักดอนแค(ตำหนักแดง) ที่ประทับเจ้านายและที่พักม.ร.ว.สมัคสมาน กฤดากร ราชเลขานุการส่วนพระองค์ ตำหนักน้อย ที่ประทับพระอิริยาบถบางโอกาสและที่รับรองเจ้านายที่มา เฝ้าฯ ศาลาทรงไทย ที่ประทับพักพระอิริยาบถ และที่เสวยพระกระยาหารแบบพื้นบ้าน ป่ามะพร้าว อยู่ทางทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ สถานที่ปลูกพืชสวนครัว อยู่ทางทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ ไร่แตงโม อยู่ติดกับสวนมะพร้าว โรงทอเสื่อ อยู่ทางทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ ในการก่อสร้าง สมเด็จฯ โปรดเกล้าฯ ให้ยึดหลักประหยัดและพึ่งตนเอง ใช้ไม้สักจากสัมปทานป่าไม้ที่เชียงใหม่ของบริษัท รำไพพนา ส่วนพระองค์ และเพื่อไม่ให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการขนอิฐมาจากบางปะกง จึงโปรดเกล้าฯให้เผาอิฐและกระเบื้องมุงหลังคาขึ้นใช้เอง โดยให้ช่างชาวจีนมาสอน อิฐนั้นมีตรา ‘ส.บ.ก.’ (สวนบ้านแก้ว) ประทับอยู่ทุกก้อน
”Suan Ban Kaew” Suan Ban Keaw is situated in Tambon Khao Rai Ya, Muang District, Chantabui Province. It comprises 687 rais (about 275 acres). In the beginning, there were only temporary buidings made of bamboo and thatch. H.M.Queen Rambhai Barni spent her first night there on June 20,1950. She had her residence and other buildings and facilities built afterwards, for instance: The Queen’s Residence 2-storey, painted grey. The Round Sala open-sided, mushroom shaped, used for relaxation The Queen’s Private Garden A flower garden of temperate plants, a pond in which fish and tortoises were kept. The Queen’s Orchard An orchard of fruit trees, such as rambutan, mapring (Bouea oppositiffia),maprang or marian plum (Bouea Burmanica) and lychee and also the place where ducks, geese, chicken and zebra parakeet were kept. ‘Dawn Care’ or Red Residence A house for relatives and M.R.Smaksman Kridakara, the Queen’s Private Secretary. The Small Residence A bungalow for guests where the Queen sometimes relaxed. The Thai sala An open-sided rectangular structure for relaxation and picnics. The Coconut Grove Situated to the West of the Queen’s Residence. The Kitchen Garden Situated to the West of the Queen’s Residence. The Melon Beds situated near the coconut grove. The Mat Workshop situated to the West of the Queen’s Residence. The Queen was concerned to keep contruction costs low and therefore brought in wood from her teak concession in Chiang Mai (Rambhai Pana Company) and had bricks and roof tiles fired on the premises. Each brick had ‘S.B.K.’ (Suan Ban Kaew) Thai lettering on it.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั