ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ทรงเป็นแบบอย่างของกุลสตรีศรีสยาม

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ ทรงประสบเหตุการณ์ที่ก่อเกิดความผันแปรในพระชนม์ชีพหลายครั้งคราว ทั้งที่สุขปีติ และทุกข์โทมนัสจนบั่นทอนกำลังพระราชหฤทัย แต่ทั้งหมดนั้นทรงผ่านมาได้ด้วยพระปรีชา ทำให้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ จากยุวราชนารีตราบเสด็จสวรรคต ทรงดำรงพระองค์งดงามเพียบพร้อมด้วยพระเกียรติยศสูงส่งแห่งสมเด็จพระบรมราชินี ทรงเคียงข้างพระราชสวามีทุกโอกาส ทรงวางพระองค์อย่างเหมาะสมทุกสถานการณ์ ทรงอุทิศพระองค์ช่วยเหลือพัฒนาการอาชีพราษฎรในท้องถิ่น และที่สำคัญทรงสนับสนุนการศึกษาก่อเกิดประโยชน์โดยตรงต่อประเทศ เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่าควรแก่การศึกษาและน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ ที่ประมวลโดยสรุปได้ดังนี้ พระราชจริยวัตรเปี่ยมคุณธรรม สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ทรงเผชิญทุกข์และโศกหลายครั้งครา แต่ด้วยพระราชอัธยาศัยนุ่มนวลแต่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง ทรงปล่อยวางอย่างเหมาะสมในบางโอกาส ทรงอโหสิกรรมในที่สุด และเหนือสิ่งอื่นใด ทรงยึดมั่นในพระเกียรติคุณและรักษาพระเกียรติยศของพระราชสวามีสืบมา ครองพระองค์สมศักดิ์ศรีแห่งขัตติยราชนารี ทรงครองพระองค์สมพระเกียรติยศและสมศักดิ์ศรี ไม่ทรงหลีกหนีปัญหา ทั้งในยามที่ทรงเคียงข้างพระราชสวามีและเมื่อพระราชสวามีหาไม่แล้ว ทรงเป็นนักพัฒนาที่สามารถ ทรงส่งเสริมพัฒนาอาชีพราษฎรในจังหวัดจันทบุรี โดยทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่าง เป็นแนวทางการประกอบสัมมาชีพ ทำให้พื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชนเข้มแข็งมั่นคง ยั่งยืนและได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระเมตตาขาย “สวนบ้านแก้ว” ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการในราคาถูก เพื่อจัดตั้งเป็นสถานศึกษาชั้นสูงในท้องถิ่น เพื่อเยาวชนในชนบทมีโอกาสได้พัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าสืบไป ทรงเรียนรู้ตลอดพระชนม์ชีพ ทรงเจริญพระชนมายุท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและสังคมไทย ทำให้ทรงเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมและความเปลี่ยนแปลงของโลก ทรงพระราชดำริว่าการความรู้มิได้ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด จึงต้องขวยขวายหาความรู้ และไม่กลัวสิ่งที่ไม่รู้vประสบการณ์มีค่าดั่งจินดาประสบการณ์ชีวิตที่ทรงผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ได้บ่มเพาะให้ทรงเข้มแข็ง ทรงรอบรู้ และทรงเมตตาอุปถัมภ์พระราชทานพระราชานุเคราะห์แก่ราษฎรได้อย่างเหมาะสม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั