พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
ทรงมีพระราชหฤทัยใฝ่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
มีพระราชดำริวินิจฉัยตั้งแต่ต้นรัชกาลแล้วว่า
ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับปรุงการปกครองให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในสมัยนั้น
ดังข้อความที่กล่าวว่า “...กระแสความเห็นในประเทศนี้ส่งสัญญาณชัดแจ้งว่า
กาลเวลาของระบอบอัตตาธิปไตยใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว หากจะให้พระราชวงศ์นี้สถิตอยู่ต่อไป
จะต้องปรับให้สถานะของพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงขึ้น
จะต้องหาหลักประกันอย่าให้มีพระมหากษัตริย์พร่องในความ สุขุมรอบคอบ
ในการทรงใช้พระวิจารณญาณ...”
จึงได้ทรงดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปสู่การปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลโดยผู้แทนของประชาชน
และการมีรัฐสภาในระดับประเทศมุ่งสู่การเปิดโอกาสให้ประชาชนเรียนรู้การปกครองด้วยตนเองในระบอบประชาธิปไตย
และโปรดเกล้าฯ ให้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อพิจารณา
หากแต่คณะราษฎรได้เข้ายึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อนที่จะทรงดำเนินการได้สำเร็จลุล่วง
ในวาระนั้น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโทรเลขตอบคณะราษฎรที่กราบบังคมทูลเชิญทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญว่า
“...ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์
ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อกับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละมัยไม่ให้ขึ้นชื่อได้ว่าจลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง
และความจริงข้าพเจ้าก็ได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงตามทำนองนี้ คือ
มีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามพระธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะเป็นตัวเชิด
เพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาลให้เป็นรูปแบบวิธีเปลี่ยนแปลงตั้งพระธรรมนูญโดยสะดวก...”
การสละราชสมบัติเมื่อ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗
หลังจากพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วไม่นาน
ปรากฎมีความเห็นแย้งกันระหว่างพระองค์กับคณะราษฎรเกี่ยวกับวิธีการปกครองในหลายประเด็น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จฯไปยังยุโรปเพื่อทรงเจริญพระราชไมตรีและทรงเข้ารับการผ่าตัดพระเนตร
และได้ประทับอยู่ต่อไปที่ประเทศอังกฤษ ได้ทรงเปิดการเจรจากับทางรัฐบาลที่กรุงเทพฯ
หากแต่ไม่สามารถจะตกลงกันได้ พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่สละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ สวรรคต ณ ประเทศอังกฤษเมื่อ ๘๐ ปีที่แล้ว
หลังจากทรงสละราชสมบัติแล้วประมาณ ๗ ปี ในช่วงเช้าของวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงมีพระชนมายุ ๔๘ พรรษา
เสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยวายอย่างฉับพลัน ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน ในประเทศอังกฤษ
ท้ายสุดนี้ รัชกาลที่ ๗ ทรงครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม ๙ ปี
แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นแต่คงไว้ด้วยความหมาย
ทรงมุ่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปสู่ความก้าวหน้าด้านการเมืองการปกครอง การออกกฎหมาย
รวมทั้งการจัดการศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งอำนวยประโยชน์ให้ประชาชน
ได้รับข้อมูลข่าวสาร นำไป คิดวิเคราะห์ เพื่อที่จะมีความคิดเห็น
และกรุยทางไปสู่การสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468 : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 : พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น