รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) เป็นระยะเวลาแห่งความยุ่งยากทางเศรษฐกิจและความผันผวนของเศรษฐกิจโลก เกิดปัญหาเสถียรภาพของการเงินระหว่างประเทศ การเพิ่มขึ้นของการกีดกันทางการค้า อันนำมาสู่ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษ 2470 ซึ่งมีผลกระทบต่อไทยด้วย ภายใต้การดำเนินนโยบายตาม “แนวอนุรักษ์นิยม” ที่เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 7 นับเป็นความพยายามจะบรรลุถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจัง เศรษฐกิจไทย (ยกเว้นช่วงปี 2474-2475) กลับมาอยู่ในช่วงที่มีเสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศ กล่าวคือ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในฐานะมั่นคง ดุลบัญชีเดินสะพัดและฐานะทางการคลังทั้งงบประมาณของประเทศก็สามารภอยู่ในฐานะเกินดุล เงินคงคลังและทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น หนี้สินต่างประเทศต่อ GDP อยู่ในระดับต่ำ ศ. ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ระบบเศรษฐกิจระหว่างชาติในช่วงรัชกาลที่ 7 ก้าวพ้นปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจ 3 ประการ คือ...
ศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเพื่อสืบทราบพระคติและพระปัญญา พระอุปนิสัยเพื่อเป็นแก่นแกนในการศึกษาเรื่องราวด้านต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาการทางการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยไทย ( บทความและภาพที่เผยแพร่นี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติและเพื่อเป็นวิทยาทานเท่านั้น ไม่มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้ใดใด หากนำไปใช้กรุณาอ้างอิงที่มาด้วย จักขอบคุณมาก)