ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2011

๒๕ กุมภาพันธ์ วันฉัตรมงคลในสมัยรัชกาลที่ ๗: จากการสื่อสารทางการเมืองทางวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกในประวัติศาสตร์สู่บทบาทของสังคมออนไลน์

              เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ มากกว่า ๘๐ ปีมาแล้ว คณะโหรคำนวณพระฤกษ์บรมราชาภิเษกถวาย ดังนั้นวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ (นับวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันปีใหม่) พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจึงได้จัดขึ้นอย่างสมบูรณ์ตามแบบโบราณราชประเพณี โดยเริ่มด้วยการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระบรมมหาราชวัง           วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ จึงนับเป็นวันฉัตรมงคลในสมัยรัชกาลที่ ๗ เพราะเป็นวันอภิลักขิตสมัยคล้ายวันบรมราชาภิเษกซึ่งทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ความว่า           “ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรงราชภาระ ครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน เราแผ่ราชอาณาเหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติ เป็นที่พึ่งจัดการปกครองรักษาป้องกันอันเป็นธรรมสืบไป ท่านทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบาย เทอญฯ”        ...

การสำรวจเพื่อปรับปรุงเนื้อหานิทรรศการถาวรเรื่องพัฒนาการประชาธิปไตยสมัยรัชกาลที่ 7

 โดย ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร ขอบคุณภาพพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  จากชมรมคนรักมวลเมฆและคุณวิศิษฐ์(เม้ง)  คลิปวีดีโอสำรวจนิทรรศการเพื่อการปรับปรุงเนื้อหาและการนำเสนอ ความเป็นมาของการปรับปรุงเนื้อหานิทรรศการถาวร เรื่อง "พัฒนาการประชาธิปไตยสมัยรัชกาลที่ 7" 1) นิทรรศการถาวรเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เปิดให้ชมอย่างเป็นทางการมาเป็นเวลากว่า 8 ปีแล้ว ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2545 ควรได้รับการปรับปรุงให้น่าสนใจ ทันสมัย และสอดคล้องกับเรื่องของพัฒนาการประชาธิปไตยสมัยรัชกาลที่ 7 2) การประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับ "พระปกเกล้าศึกษา"     การประชุมระดมความคิดเห็นพระปกเกล้าศึกษา วันอังคารที่ 23พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เริ่มประชุมเวลา 09.30 น. ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ : การรวบรวมเอกสารควรจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ ผลผลิตที่ได้จากงานคืองานวิจัย 50 เรื่อง โดยแบ่งเป็น 5 หมวดๆ ละ 10 เรื่อง ซึ่งไม่มีใครตอบได้ว่าที่แบ่งไว้คืออะไร บทวิเคราะห์ต้องเป็นบทความทางวิชาการ ยาว 5-8 หน้ามี เชิงอรรถ ฟุตโน้ต กรรมการวิชาการเลยต้อง...

พระราชกรณียกิจในการเสด็จประพาสสิงคโปร์ ชวา และบาหลี

ขอบคุณเนื้อหาจากดร. ดินาร์ บุญธรรม  ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเสด็จพระราชดำเนินเยือนสิงคโปร์ ชวา และบาหลี (๓๑ กรกฎาคม – ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒)           การเสด็จพระราชดำเนินเยือนสิงคโปร์และอาณานิคมอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์(เฉพาะเกาะชวาและบาหลี) เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเน้นความสำคัญของการเสด็จฯเยือนเกาะชวาซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองอาณานิคมอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ทรงแสดงพระราชปรารภในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ว่าต้องพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรภูมิประเทศและการบริหารจัดการปกครองเกาะชวา และเป็นการส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างสยามประเทศกับรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมด้วย           อันที่จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินเยือนชวาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๑ เป็นระยะเวลานานประมาณ ๒ เดือน แต่มีเหตุขัดข้องทำให้ต้องเลื่อนการเสด็จ...

หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก : จากพระราชดำริพระปกเกล้าฯสู่ปัจจุบัน

 พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 7 ตอนทรงผนวช และเคยทรงได้รับรางวัลการประกวดเรียงความกระทู้ธรรม ขอบคุณภาพจากห้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มสธ.   โดย ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร (ตีพิมพ์ครั้งแรกในรายงานกิจการประจำปี 2549 มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี)           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กเป็นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ เพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลวิสาขบูชา และที่สำคัญคือพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์คำนำในหนังสือดังกล่าวด้วยพระองค์เอง นับแต่เล่มแรก คือหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กเรื่องพุทธมามกะ (๒๔๗๑) ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระอุปัชฌาย์ จนถึงเล่มที่ ๖ คือหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เรื่องทิฏฐธรรมิกัตถะประโยชน์ ๔ ประการ (๒๔๗๖) ของนายจั๊บ อึ๊งประทีป ครูโรงเรียนมัธยมหอวัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นปีที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังทวีปยุโรปเพื่อทรงเจริญพระราชไมตรีและไปรักษา...

The Conferment of Royal Ranks and Titles on Female Members of the Royal Family

A Temporary Exhibition at the King Prajadhipok Museum, February 24-May 30,2007     This unusual Exhibition is organised in response to public interest in the Royal Family and the less well known aspects of Court life. Dealing especially with the conferment of royal ranks and titles on Feamale members of The Royal Family, it provides a vista into the  little known world of the Inner Court of the Grand Palace, usually known to Westerners as 'the Forbidden city'. The Exhibition opens in February,the month of the Coronation in 1926 of H.M.King Prajadhipok (Rama VII) on which occasion his only consort, H.M. Rambhai Barni, was elevated in royal rank and conferred the Title of Her Majesty the Queen. The opening was graciously presided over by H.R.H. Princess Somsavali who was elevated to royal status and conferred titles in the present reign. She is also a granddaughter of personages closely associated with H.M. King Prajadhipok and H.M. Queen Rambhai Barni as well...

ราชินีศรีสยามในยุโรป (พ.ศ. ๒๔๗๖-๒๔๗๗)

รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ขอบคุณเนื้อหาจาก หม่อมราชวงศ์ พฤทธิสาณ ชุมพล            หลังเหตุการณ์กบฏบวรเดชในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปเพื่อทรงกระชับพระราชไมตรี และเพื่อทรงรับการผ่าตัดพระเนตรซ้ายเป็นขั้นที่สองที่ประเทศอังกฤษ หลังจากที่ทรงได้รับการผ่าตัดขั้นที่หนึ่งที่สหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ พระองค์เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จากท่าราชวรดิษฐ์ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ด้วยเรือยนต์พระที่นั่งศรวรุณไปยังเกาะสีชังแล้วประทับเรือวลัยซึ่งบริษัท สยามสตีมนาวิเกชัน จำกัด จัดถวาย ทรงแวะที่เมืองเมดัน เกาะ สุมาตรา ซึ่งเนเธอแลนด์ปกครองอยู่ แล้วประทับเรือกำปั่น เมโอเนีย ซึ่งบริษัท อีสต์เอเชียติค จัดถวายเป็นเรือพระที่นั่งต่อไปจะผ่านเมืองโคลัมโบ แห่งเกาะลังกาซึ่งอังกฤษปกครองอยู่และคลองซูเอส ถึงเมืองมาร์เซลย์ ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ รวมเวลาเสด็จ  โดยเรือร่วม ๑ เดือน ต้อ...

พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗

ขอบคุณเนื้อหาจากอาจารย์ วิกัลย์     พงศ์พนิตานนท์  หอจดหมายเหตุศิริราชพยาบาล รำไพแสงปกหล้าบารมี            สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ พระนามเดิม หม่อมเจ้า หญิงรำไพพรรณี เป็นพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิ วัดนวิศิษฎ์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี (พระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร) เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๔๗           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ พระราชโอรส พระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ทรงเป็นต้นราชสกุล สวัสดิวัตน์ พระโอรสธิดา ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณีเป็นพระมารดา มี ๘ พระองค์ ได้แก่ หม่อมเจ้าเสรีสวัสดิกมล สวัสดิวัตน์ (พ.ศ. ๒๔๔๕ สิ้นชีพิตักษัยตั้งแต่พระชันษายังไม่ถึง ๑ ปี) หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิ...